Saturday, August 16, 2014

ดูแลบ้านในฤดูฝน ให้อยู่ทนอยู่นาน




      เมื่อสายฝนเริ่มโปรยปราย พัดพาความฉ่ำเย็นมาให้บ้านของเรา หลายคนก็คงอยากดื่มด่ำไปกับบรรยากาศสดชื่น รับลมและละอองน้ำชุ่มฉ่ำในฤดูฝนนี้ หลังจากที่ต้องฝ่าแดดและลมร้อนกันมานาน แต่ก็อาจมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่มักมาพร้อมหน้าฝนอยู่บ้าง H&D จึงมีวิธีเตรียมพร้อม รับมือ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในฤดูฝนนี้มาฝากกัน

ตรวจเช็คบ้านให้รอบด้าน

          ในหน้าฝน แน่นอนว่าปัญหาที่มากับน้ำซึ่งอาจส่งผลกระทบกับบ้านมีได้หลายช่องทาง ดังนั้นจึงควรมีการตรวจตราส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ทันท่วงที อาทิ

     
หมั่นตรวจสอบจุดรั่วซึมของบ้าน จุดที่มีโอกาสเกิดการรั่วซึมมาก ได้แก่ หลังคา ฝ้าเพดาน ผนัง และตามรอยต่อของวัสดุต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบง่าย ๆ คือสังเกตรอยรั่ว ซึมแตกร้าวตามหลังคา ฝ้าเพดาน ผนัง และสังเกตรอยต่อของวัสดุต่าง ๆ เช่น ช่องหน้าต่าง ประตู ว่ามีร่องรอยของน้ำ หรือคราบรอยน้ำหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ส่วนใหญ่จะทราบเมื่อเกิดปัญหามาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่หากพบเมื่อไหร่ควรรีบดำเนินการให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขโดยเร็วที่สุด

     
ตรวจเช็กรางน้ำฝน ดูแลอย่าให้มีเศษใบไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันในรางน้ำฝน เพราะเมื่อเกิดฝนตกหนักอาจทำให้น้ำเกิดการรั่วซึมกลับเข้าไปภายในบ้านได้ และหากหลังคาส่วนไหนที่ยังไม่มีรางน้ำฝนรองรับ ก็ควรมีการจัดเตรียมไว้ให้พร้อม เพราะไม่อย่างนั้นสายน้ำที่ตกลงมาจากหลังคาอาจจะกระเซ็นไปยังจุดต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อบ้านได้

     
ทำความสะอาดท่อระบายน้ำหรือบ่อดักขยะ เพื่อป้องกันการอุดตันในท่องระบาย ที่อาจส่งผลทำให้เกิดน้ำขังได้ นอกจากนี้การกวาดเศษใบไม้ กิ่งไม้ บริเวณรอบ ๆ บ้านก็มีส่วนสำคัญเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ไหลลงไปอุดตันยังท่อระบายน้ำ

     
หน้าฝนเป็นช่วงที่เหมาะกับการลงต้นไม้ อาจใช้ช่วงนี้เป็นการชวนลูก ๆ และคนในบ้านมาทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากสร้างความอบอุ่นในครอบครัวแล้ว ยังได้สวนสวย ๆ ไปพร้อมกัน


เตรียมพื้นที่รอบบ้านรับหน้าฝน

         นอกจากการตรวจเช็คส่วนต่าง ๆ ของบ้านแล้ว การเตรียมพื้นที่และปรับปรุงบ้านให้พร้อมรับหน้าฝนก็เป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตัดกิ่งไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวบ้านเพื่อป้องกันลมพายุที่อาจ พัดแรงจนกิ่งไม้หักมากโดนตัวบ้านหรือคนในบ้านให้เกิดอันตรายได้ และยังป้องกันช่องทางไม่ให้สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ เข้ามาสู่ตัวบ้าน

         นอกจากนี้การเช็คสภาพพื้นผิวรอบบ้านก็เป็นอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะพื้นรอบบ้าน เช่น ลานจอดรถ, ทางเดินภายนอก ซึ่งมีพื้นผิวลื่น เมื่อโดนน้ำหรือเกิดน้ำท่วมขังอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้ม ได้ จึงควรเลือกใช้วัสดุปูพื้นภายนอกที่ระบายน้ำได้ดี และมีพ้นผิวไม่เรียบจนเกินไป

         สำหรับพื้นที่ภายในบ้าน หากมีส่วนใดของบ้านที่มีโอกาสโดนฝนสาดได้ เช่น ห้องที่มีหน้าต่างเยอะ ๆ ศาลา หรือพื้นส่วนขานบ้านที่จัดไว้ นั่งพักผ่อน ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่ สามารถโดนน้ำได้ เช่น หากเป็นพื้นไม้ ควรเลือกใช้เป็นไม้สังเคราะห์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ แข็งแรง และใช้งานได้ทั้งภายนอกภายใน
      
         หากส่วนไหนของบ้านที่เกิดโล่งเกินไป ควรทำกันสาดหรือชายคายื่นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้าไปกระทบกับผนังหรือช่องเปิดต่าง ๆ ทั้งประตู หนังต่าง ที่อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและมีควาบเชื้อราสะสมได้

Tips

     
การป้องกันในส่วนรอยรั่วซึมของหลังคา อาจติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลังคากันรั่ว ที่ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบเป็นชุดครอบหรือแผ่นปิดรอยต่อ ที่จะสามารถตัดขึ้นรูปตามลอนกระเบื้องหรือรอยต่อได้ ซึ่งง่ายกว่าการใช้สังกะสีที่ตัดยากหรือการอุดรอยต่อด้วยปูนทรายที่มักแตก ร้าวง่าย นอกจากนี้แผ่นปิดรอยต่อยังสามารถทาสีทับให้กลมกลืนไปกับสีของหลังคาได้อีก ด้วย

     
การเลือกใช้ร่างน้ำฝนในปัจจุบันมีให้เลือกได้มากมาย ทั้งแบบไร้รอยต่อและเพิ่มความยาวในการติดตั้ง ทำให้สะดวกและมีแบบให้เลือกเข้ากับบ้านได้หลากหลายสไตล์ นอกจากนี้ยังมีรางน้ำฝนแบบที่สามารถนำมาติดกับเครื่องกรองน้ำ ทำให้สามารถกรองและแยกประเภทของน้ำให้นำกลับไปใช้งานใหม่ได้ รวมทั้งแยกในส่วนของเศษใบไม้หรือขยะที่ปะปนลงมาอีกด้วย

     
วัสดุปูพื้นภายนอก เช่น กระเบื้องปูพื้นภายนอก หรือบล็อกปูพื้น ควรเลือกแบบที่มีช่องว่างในเนื้อคอนกรีต เพื่อช่วยให้น้ำสามารถซึมผ่านได้ดี และเป็นการระบายน้ำไปในตัวทำให้ลดโอกาสเกิดน้ำท่วมขังและป้องกันอุบัติเหตุ ที่เกิดจากพื้นลื่นบางพื้นที่ที่ต้องใช้งานบ่อยและมีโอกาสโดนฝนเป็นประจำ ควรทำทางระบายน้ำ โดยปรับระดับทำพื้นลาดเอียงที่ 1 : 200

     
การปรับต่อเติมผ้าบางส่วนของบ้านให้เป็นช่องแสง โดย ใช้แผ่นอะคริลิกใสเพื่อให้ได้ยินเสียงผมที่ตกกระทบลงมา ก็ช่วยสร้างบรรยากาศยามฝนตกได้ดี และเสียงฝนยังทำให้เกิดความรู้สึกเย็นสบายผ่อนคลายได้อีกด้วย

     
ดอกไม้ที่เหมาะสำหรับนำมาปลูกในฤดูฝน อาทิ ดอกพิทูเนีย ดอกยี่เข่ง ดอกเวอร์ปีน่า ดอกกล้วยไม้ดิน ดอกเครื่องละครเลีย ดอกมาร์กาเร็ต ดอกมอร์นิ่งกลอรี่ ดอกปทุมรัตน์


ตกแต่งบ้านสร้างบรรยากาศ

          เพราะหน้าฝนเป็นช่วงที่หลายคนอาจไม่อยากออกไปไหนให้เกิดความลำบากในการเดินทาง และคงอยากอยู่บ้านซึมซับอากาศเย็นสบาย ยิ่งหากเป็นช่วงเวลาในวันหยุดการใต้นอนพักผ่อนหรือนั่งเล่นฟังเสียงฝนอยู่ กับบ้านคงถือเป็นการผ่อนคลายจากการทำงานได้ดีเลยทีเดียว

          ดังนั้นการเตรียมบ้านสำหรับฤดูฝนจึงไม่ได้ มีเพียงแค่การตรวจสอบการใช้งานหรือการดูแลพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของบ้านเท่านั้น แต่เรายังสามารถสร้างบรรยากาศของบ้านให้เกิดความรื่นรมย์ได้ด้วยไอเดียง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

     
จัดมุมพักผ่อนบริเวณชานบ้าน ห้องนั่งเล่นริมหน้าต่าง โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทนแดดทนฝน จำพวก ไม้ หวายเทียม หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทวัสดุสังเคราะห์ หรือใครจะลองหาเปลญวนมาผูกไว้กับเสาบ้าน ก็น่าจะสร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้มากเลยทีเดียว

     
เพิ่มความสดชื่นให้กับบ้านด้วยการปลูกไม้พุ่มริมระเบียง ให้สามารถมองเห็นสีเขียวจากภายในบ้าน ความสูงของไม้พุ่มประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถมองเห็นในระดับสายตา และพุ่มไม้เหล่านี้ยังช่วยป้องกันการกระเซ็นของน้ำฝนที่ตกมาได้อีกด้วย

     
หน้าฝนถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการนำต้นไม้ใหม่ ๆ มาปลูกในสวน โดยเฉพาะการลงต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะถือเป็นช่วงย้ายต้นไม้ในกระถางลงดิน เพราะอากาศช่วงนี้จะมีความชื้นสูง และน้ำฝนจะคอยช่วยให้ความชุ่มชื้นกับดิน ใบไม้จึงระเหยน้ำไม่มาก ทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดได้เยอะกว่า ยิ่งหากหาพวกไม้ดอกที่ออกดอกสวยงามในหน้าฝนมาลงไว้ในสวน คงจะทำให้บ้านมีบรรยากาศสดชื่นขึ้นอีกมากทีเดียว

          เพียงการดูแลใส่ใจบ้านให้พร้อมสำหรบฤดูฝนที่อาจจะยาวนานไม่แพ้ฤดูร้อนที่ ผ่านมา เราก็จะได้ดื่มด่ำผ่อนคลาย ฟังเสียงฝนพรำไปกับอากาศฉ่ำเย็น เป็นบ้านในฤดูฝนที่ทุกคนคงจะใช้เวลาได้อย่างมีความสุขไปตลอดฤดูกาล

แหล่งที่มา  home & décor, http://home.kapook.com/view95439.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment