Saturday, February 27, 2016

ภูมิแพ้อากาศ ป้องกันและดูแลลูกอย่างไรดี ?




      ภูมิแพ้ในเด็กป้องกัน อย่างไรให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคยอดฮิต วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดน่ารู้และวิธีป้องกันจากนิตยสาร MODERNMOM มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ส่วนสาเหตุของโรคภูมิแพ้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้อากาศ เรารวบรวมคำตอบและวิธีป้องกันมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันแล้วค่ะ

          ความชุกของโรคภูมิแพ้นั้นมีเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก และในประเทศไทยที่เคยมีการศึกษากันมา พบว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ พบได้บ่อยที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 50 ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่จนเป็นปัญหาต่อกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากมีผลกระทบกับการนอน ทำให้มีปัญหาการเจ็บป่วย รู้สึกรำคาญ และทำให้ขาดเรียนหรือขาดงานได้บ่อย จึงทำให้มีคุณภาพชีวิตลดลง

          ผู้ที่เป็นเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มักมีปัญหาที่พบร่วมด้วย ได้แก่ คออักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคหอบหืด แก้วหูอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ปัญหาเรื่องการพูด การนอนกรนเสียงดัง เนื่องจากมีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีการหายใจทางปากเกือบตลอดเวลา จนทำให้เกิดความผิดปกติของโครงหน้าและการสบของฟัน โดยเฉพาะถ้าเริ่มมีอาการในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ

          สาเหตุของโรคภูมิแพ้นั้นเกิดจากเรื่องของพันธุกรรมและการได้รับสารก่อภูมิแพ้ กระตุ้นให้เกิดโรค ในประเทศไทยสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ๆ คือไรฝุ่น ซากแมลงสาบ รังแคแมว สุนัข ละอองเกสรดอกไม้ ดอกหญ้า เชื้อรา เป็นต้น อายุที่เริ่มมีอาการแพ้อากาศมักพบในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไป โดยมีอาการจาม คันจมูก คันตา น้ำมูกไหลใส ๆ คัดจมูกจนต้องอ้าปากหายใจ เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ เป็นต้น ความแตกต่างของอาการภูมิแพ้กับการติดเชื้อนั้นต่างกันตามตาราง ดังนี้

          การดูแลเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้อากาศ สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กไปสัมผัสกับสาร ก่อภูมิแพ้ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการถูกกระตุ้นและทำให้พัฒนาไปเป็นโรคหอบหืดและภูมิ แพ้อื่น ๆ สำหรับคำแนะนำโดยทั่วไปให้ปฏิบัติดังนี้ คือ

1. ป้องกันการสัมผัสกับไรฝุ่น

          การ ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่นจะทำให้มีการถูกกระตุ้นได้น้อยลง แต่บางพื้นที่ที่มีปริมาณตัวไรอยู่เป็นจำนวนมาก อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการป้องกัน วิธีการลดการสัมผัส คือ

         ทำความสะอาดเครื่องนอนทุกสัปดาห์ด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส

         ใช้ปลอกหมอนและปลอกที่นอนแบบป้องกันไรฝุ่น

         ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดแบบสุญญากาศที่มีระบบกรองแบบ High-efficiency Particulate Air (HEPA)

         การใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันสามารถลดการสัมผัสตัวไรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่แพ้ตัวไร

2. ป้องกันการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง

          ดีที่สุดในการลดการสัมผัสก็คือ การนำสุนัขหรือแมวออกไปไว้ที่อื่น ถ้าไม่สามารถนำสัตว์เลี้ยงออกไปได้ อาจลดการสัมผัสได้โดย

         ไม่ควรนำมาไว้ในห้องนอน

         อาบน้ำให้อย่างน้อยทุกอาทิตย์

         ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบ HEPA

         จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี

         ควรใช้ปลอกหมอนและปลอกที่นอนที่ผิวผ้ามีขนาดรูเล็กกว่า 6 ไมครอน

3. ป้องกันการสัมผัสกับซากแมลงสาบ

          ลดการสัมผัสกับซากแมลงสาบทำให้ลดการกระตุ้นให้เกิดการแพ้โดยมีวิธีการดังนี้ คือ

         ปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของแมลงสาบ เช่น เศษอาหาร ความชื้น

         การใช้แผ่นดักจับแมลงสาบในการเฝ้าระวังปริมาณแมลงสาบ

         การใช้ยาฆ่าแมลง เช่น imidacloprid ควรใช้อย่างระมัดระวัง และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

         กรดบอริกเป็นยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามแมลงสาบที่รอดชีวิตจากการสัมผัสกับกรดบอริกอาจทำให้เกิดสาร ก่อภูมิแพ้ได้มากขึ้น

         อุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนกับแมลงสาบควรกำจัดออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสของผู้อยู่อาศัยในบ้าน

          การใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมกัน น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและกำจัดแมลงสาบ

4. ป้องกันการสัมผัสกับควันบุหรี่

          หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

          ไม่ควรให้เด็กได้สัมผัสกับควันบุหรี่ เนื่องจากมีหลักฐานจากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า


         มารดาที่สูบบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการพัฒนาปอดของทารก

         เด็กเล็ก ๆ ที่มีอาการหลอดลมตีบเมื่อป่วย มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในพ่อแม่

         การได้สัมผัสกับสารระคายเคืองในบ้าน ทำให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้

          การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทุกวันก่อนอาบน้ำตอนเย็น จะช่วยให้กำจัดสารก่อภูมิแพ้ในจมูออกได้บ้าง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
MODERNMOM
Vol.21 No.242 ธันวาคม 2558
http://baby.kapook.com
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/368802656961211914/

Sunday, February 14, 2016

5 สิ่งอันตรายใกล้ตัว...ทำลายสมองลูก




พัฒนาการเด็กเล็กจะ เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรงขึ้นอยู่กับสิ่งของรอบตัวในบ้านที่พ่อ แม่อาจจะละเลยหรือไม่ทันได้ฉุกคิด และคาดไม่ถึงว่าจะอันตรายต่อลูกน้อย วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเคล็ดลับจากนิตยสาร Mother & Care กับ 5 สิ่งต่อไปนี้ที่ลูกน้อยควรอยู่ให้ห่างไกลมาแนะนำกัน ภัยใกล้ตัวลูกจะมีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ

          ฉบับนี้ขออนุญาตนำบทความบางส่วน ของ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเด็ก ที่เคยตีพิมพ์ไปแล้ว แต่เรื่องสมองลูกไม่ใช่เรื่องที่พ่อแม่ "เอาไว้ก่อน" ได้ ต้องเป็นเรื่องที่ "ต้องทำเดี๋ยวนี้" เท่านั้น เราจึงนำมาย้ำเตือนกันค่ะ

          1. โทรทัศน์ : จากงานวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบเด็กที่ดูโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมง กับเด็กที่ไม่ได้ดูเลย เมื่อผ่านไป 1 ปี พบว่า พัฒนาการเด็กที่ดูโทรทัศน์ต่ำกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูอย่างชัดเจน และมีคำแนะนำว่าถ้าจะให้ลูกดู ควรดูหลัง 6 ขวบไปแล้ว เพราะโทรทัศน์มีทั้งภาพ และเสียงที่ไปกระตุ้นสมองกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น เพราะเด็กใช้ประสาทสัมผัสเพียง 2 ส่วน คือ ตากับหู จึงขัดแย้งในกระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กที่ต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 6 นั่นเอง ทำให้สมองส่วนอื่น ๆ ไม่ถูกใช้งาน ถือว่าเป็นการทำลายสมอง

          2. อาหารขยะ : อาหารพวกนี้ส่วนใหญ่ทำจากแป้ง ย่าง หรือทอดด้วยความร้อนสูง ในอาหารมีแต่น้ำตาลและไขมันไม่ดี เด็กที่อายุไม่ถึง 3 ขวบ ถ้าได้กินบ่อย ๆ จะทำให้กระบวนการพัฒนาเซลล์สมองด้อยประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไอคิวต่ำกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน และต้องอย่าลืมว่าวัยแรกเกิด-3 ขวบ เป็นวัยที่สมองพัฒนาได้สูงสุด

          3. บุหรี่ : บ้านไหนที่ผู้ใหญ่ยังละที่จะสูบไม่ได้ และเด็กที่อยู่ใกล้ชิดยังคงได้สูดดมอยู่ รู้หรือไม่ว่าอากาศที่มีควันบุหรี่นั้นจะทำให้สมองเสื่อม เพราะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่นั่นเอง

          4. ของเล่น : ของเล่นของใกล้ตัวลูกมากที่สุดก็มีสารพิษ โดยเฉพาะของเล่นพลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐาน จะมีสารตะกั่ว สารปรอทปนเปื้อน หากลูกหยิบจับเข้าปาก เล่นเป็นเวลานาน สารเหล่านี้ก็เข้าไปสะสมในร่างกาย ส่งผลต่อสมองได้ ดังนั้นก็ต้องเลือกของเล่นที่ได้รับรองความปลอดภัย หรือหลีกเลี่ยงของเล่นจำพวกพลาสติก หรือของเล่นแต่งสีต่าง ๆ หาของเล่นจากธรรมชาติให้ลูกเล่นกันดีกว่า

          5. ไอ..ทั้งหลาย : ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอแพด แท็บเล็ต หน้าจอเล็ก ๆ ที่บันดาลเรื่องสนุกด้วยปลายนิ้วทั้งหลายนั้น แม้จะยังไม่มีใครยืนยันว่าส่งผลร้ายต่อสมองเด็กโดยตรงอย่างไร แต่ก็คงไม่ต่างกับโทรทัศน์มากนัก แถมเจ้าเครื่องมือเหล่านี้ ยังมีแสงสีฟ้าที่ทำลายประสาทตา และทำลายทักษะต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ควรจะได้พัฒนาตามวัยด้วย ดังนั้นควรให้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และมีกติกาชัดเจนในการใช้งาน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Mother & Care

Vol.11 No.132 ธันวาคม 2558

http://baby.kapook.com

เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/32440059793944447/

Saturday, February 13, 2016

6 วิธีเสริมลูกให้เป็นเด็กมั่นใจ



 

         อย่าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กที่ไม่กล้าและกลัวไปเสียทุกเรื่อง ต้องเสริมความมั่นใจ เป็นพื้นฐานให้ลูกสามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต ด้วยการ..


         1. เปิดโอกาสให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่เป็นนักจัดแจงทำให้ลูกทุกอย่าง เพราะคำพูดที่ว่า "หนูทำไม่ได้" จะกลายเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ของลูกต่อไปได้

         2. ไม่ว่าจะฝึกหรือสอนให้ลูกทำอะไร อย่างแรกต้องทำเป็นตัวอย่างให้เห็นก่อน จากนั้นให้เขาเป็นผู้ช่วยแล้วค่อยปล่อยให้เขาทำโดยคุณเปลี่ยนไปเป็นผู้ช่วย แทน สุดท้ายลูกจะทำได้ด้วยตัวเขาเอง

         3. เลือกเวลาหน่อย ถ้าเห็นว่าลูกยังไม่พร้อมจะเรียนรู้ อย่าได้ยัดเยียดหรือคะยั้นคะยอให้ทำ เพราะความไม่พร้อมจะพลอยให้ลูกทำได้ไม่ดีเพราะขาดความตั้งใจ ทีนี้ล่ะสิ่งนั้นจะกลายเป็นเรื่องยากในความรู้สึกของลูกไปเลย แบบนี้ทำลายความเชื่อมั่นในใจลูกเปล่า ๆ

         4. หมั่นเติมกำลังใจและคำชมเชย เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้สึกอยากลองทำสิ่งใหม่ ๆ และมีแรงฮึดที่จะพยายามอีกครั้ง แม้ว่าสิ่งนั้นลูกอาจทำได้ไม่ดีนัก

         5. คำพูดต้องเป็นเชิงบวก เช่น เมื่อเห็นว่าลูกถือแก้วน้ำแทนที่จะพูดว่า "อย่าให้หกนะ" ก็พูดว่า "จับแน่น ๆ นะลูก" ก็ช่วยลดอาการเกร็งเพราะไม่มั่นใจลงได้

         6. เข้าใจธรรมชาติความต่างของเด็กแต่ละคน ไม่ทำตัวเป็นคุณแม่ช่างเปรียบเทียบที่คอยแต่บอกว่าลูกบ้านอื่นเก่งไปทุกเรื่อง



โดย : กีราวัณ
แหล่งที่มา  http://baby.kapook.com, modernmom

เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/254734922650219225/

Friday, February 12, 2016

ผลไม้ต้องห้ามยามลูกป่วย





          ถึงแม้ผลไม้จะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกาย แต่ก็ใช่ว่าเจ้าตัวเล็กจะสามารถกินผลไม้ทุกชนิดได้ทุกเวลานะคะ เพราะผลไม้มีผลต่ออาการเจ็บป่วยของลูกเหมือนกัน แต่ป่วยแบบไหนไม่ควรกินผลไม้อะไรต้องติดตามค่ะ


ไอ อาการ ไออาจเป็นผลจากการระคายเคืองโดยตรงต่อปอด หรือจากน้ำมูกที่ไหลลงในหลอดลมซึ่งเกิดจากการคั่งของมูกในทางเดินหายใจ ซึ่งการที่เราต้องไอออกมานั้น เป็นเพราะร่างกายกำลังพยายามทำให้ปอดและทางเดินหายใจโล่งขึ้น และการไอยังเป็นกลไกหนึ่งของการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ด้วย

          Don’t : ผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม แคนตาลูป หรือแตงไทย เพราะส่วนใหญ่ผลไม้กลุ่มนี้มักเป็นผลไม้ที่มีน้ำมากและจะทำให้เกิดการระคาย เคืองภายในลำคอความเย็นจะกระตุ้นทำให้เกิดอาการไอมากขึ้น และจะทำให้หายใจไม่สะดวก

          Do : น้ำสับปะรดผสมน้ำผึ้ง เนื้อลูกพลับ มะขามป้อม และส้มโอคั้นเอาเฉพาะน้ำ ถ้าเปรี้ยวมากอาจผสมน้ำอุ่นต่อน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ



ไข้หวัด เมื่อลูกเป็นไข้หวัดมักมีอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ไอเล็กน้อย น้ำมูกไหล คัดจมูก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจเจ็บคอหรือคอแดงเล็กน้อย ถ้ามีไข้สูงจะเหนื่อยหอบ และอาจจะมีอาการชักได้

          Don’t : ผลไม้ที่มีแป้งมาก มีไขมันมาก มีลักษณะที่แข็ง และย่อยยาก เช่น มะม่วงดิบ มะละกอ หรือกล้วย เพราะเมื่อลูกป่วยเป็นไข้หวัด ร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงมากอยู่แล้ว ถ้ากินผลไม้ดังกล่าวร่างกายต้องเผาผลาญมาก เมื่อเกิดพลังงานความร้อนร่างกายก็จะมีอุณหภูมิที่สูงมากขึ้นอาจทำให้ชักได้

          Do : มะเฟือง ส้ม แตงโม น้ำแคนตาลูป

         Tip : หลังจากที่คุณลูกหายไข้แนะนำให้คุณแม่บำรุงร่างกายและป้องกันการกลับมาป่วย ซ้ำของลูกด้วยผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น ฝรั่งขี้นกค่ะ



ท้องเสีย ปกติวัยขวบปีแรกที่กินนมแม่มักจะถ่ายวันละ 4-5 ครั้งต่อวัน แต่ถ้าลูกถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกหรือมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไป ร่วมกับอาการไข้หรืออาเจียน จะถือว่าลูกมีภาวะท้องเสียค่ะ

          Don’t : ผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย เช่น มะขาม ลูกพรุน กล้วยสุก หรือมะละกอสุก ผลไม้ที่มีกากใยแบบไม่ละลายน้ำ เช่น ชมพู่ แตงโม หรือสับปะรด และผลไม้ที่มีรสหวานจัด ผลไม้ที่มีรสหวานจัดมีน้ำตาลมาก ได้แก่ ลำไย ทุเรียน ลิ้นจี่ เงาะ ขนุน เพราะผลไม้ที่มีรสหวานมีน้ำตาลในผลไม้ไม่ต้องผ่านการย่อย แต่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย ซึ่งถ้ามีมากอาจทำให้ท้องเสียได้

          Do : แอปเปิ้ล น้ำมะพร้าว เนื้อกล้วยดิบมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ปิ้งไฟให้สุก บดเป็นผงผสมน้ำหวานให้เจ้าตัวเล็กกินครั้งละ ½-1 ลูก ทุกๆ 2-4 ชั่วโมง



ท้องผูก ลูกวัย 6 เดือนถึง 4 ปี จะมีอาการท้องผูกมากที่สุดค่ะ ความถี่ของการอุจจาระที่บ่งบอกว่าลูกท้องผูกคือ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมากและอุจจาระแข็งอาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือก้อนใหญ่ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย หรือบางครั้งอาจมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกกลัวการถ่ายจึงพยายามกลั้นเอาไว้

          Don’t : ผลไม้ที่มีใยอาหารแบบไม่ละลายน้ำ เช่น ฝรั่ง มะม่วงดิบ รวมถึงมันและถั่วต่างๆ ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง มักจะย่อยยาก มีแก๊สมากทำให้อึดอัดแน่นท้อง และไม่สบายตัว

         Do : มะเฟือง พรุน กล้วย องุ่น มะละกอ แอปเปิ้ล (มีวิตามินบี 5 ซึ่งช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น) น้ำมะพร้าว (มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ) น้ำส้ม ผลส้ม สับปะรด และน้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น

 

          เมื่อ เจ้าตัวเล็กไม่สบายครั้งต่อไป คุณแม่ก็รู้แล้วนะคะว่า ควรให้ลูกเลี่ยงผลไม้ชนิดใดเป็นพิเศษ และควรกินผลไม้ชนิดใด เพื่อช่วยให้อาการต่างๆ ของลูกดีขึ้น



แหล่งข้อมูลที่มา  กระปุกดอทคอม / MODERNMOM
เครดิตภาพ  http://www.lovethispic.com/image/53416/little-lumberjack

Thursday, February 11, 2016

เรื่องควรรู้ก่อนพาเด็กไปทะเล





ในกิจกรรมในช่วงหน้าร้อน และหลายๆ ครอบครัวนั้นคงต้องคิดกันว่าจะไปคลายร้อนกันที่ทะเล และก่อนที่เรานั้นจะออกไปเที่ยวทะเล เพลิดเพลินกับธรรมชาติในช่วงหน้าร้อน เรานั้นควรสอน เด็กเตรียมพร้อมเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงนำเอาข้อมูล มาอัพเดทให้เพื่อนๆดังต่อไปนี้

 
  1. ป้องกันแสงแดด
ทางด้านผิวหนังของเด็ก นั้นอาจถูกแดดแผดเผา และอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนได้นั้นเอง เพราะถ้าเด็กนั้นได้เล่นน้ำในช่วงที่แดดแรงจัด เพราะโดยในวันที่อากาศร้อนกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกาย และจะมีความชื้นสูง ร่างกายนั้นจะไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี เพราะอาจทำให้เด็กนั้นมีอาการเป็นลมแดดได้นั้นเอง เพราะที่ทะเลนั้นแดดแรงเป็นอย่างมากนั้นเอง    เรานั้นควรจัดเวลาในการเล่นน้ำที่ปลอดภัยจากแสงแดด เพราะซึ่งก็คือช่วงเช้า-10.00 น. และหลังจากบ่าย 3 โมง อีกหนึ่งวิธีปกป้อง ผิวเด็กนั้นด้วยการทาครีมกันแดด เพราะก่อนที่จะลงเล่นน้ำประมาณ 30 นาที และหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่แดดแรงจัดในช่วงพักเที่ยงนั้นเอง


   2. ปลอดภัยในหาดทราย
เพราะ ช่วงที่น้ำทะเลลง มักจะมีเปลือกหอย หรือเศษแก้ว เศษขวด ฝากระป๋องต่างๆ อยู่บนริมชายหาด หากเด็กไม่ทันระมัดระวังหรือเผลอเดินไปเหยียบก็อาจเป็นแผลที่เท้า  เรานั้นควรเลือกหาดที่มีทรายละเอียด หรือค่อนข้างเรียบ ตรวจตรา สำรวจดูบริเวณที่จะเล่นว่าไม่มีเศษแก้ว เศษขยะหรือเปลือกหอยที่แหลมคมเพราะเรานั้นควรป้องกันเป็นพิเศษ


   3. คลื่นทะเล
ก็เพราะเด็ก นั้นมักสนุกกับการตัก ขุด เล่นกับทรายริมชายหาด จนบางครั้งอาจไม่ทันรู้ตัวก็ถูกคลื่นซัด โดยเฉพาะช่วงที่น้ำขึ้น คลื่นจะแรง และชายหาดก็มีความลาดชันสูง อาจทำให้หกล้มเสียหลัก เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย  เรานั้นควรมีความระมัดระมัดระวัง คลื่น ทะเลด้วยเรานั้นไม่ควรปล่อยปละละเลย


   4. การว่ายน้ำในทะเล
และข้อนี้นั้นเป็นข้อที่เรานั้นควรระวังเป็นอย่างมากเลยทีเดียว อาการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่มีการ ว่ายน้ำก็คือเรื่องตะคริว เพราะซึ่งมันอาจเกิดจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อ และจนเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วอีกด้วย


แหล่งที่มา  www.doesitend.com
เครดิตภาพ  http://www.primarkonesies.com/collections/bunny-rabbit-onesie