Tuesday, July 26, 2016

มะขวิด ไม้ดีใกล้สูญพันธุ์




พูดถึงต้น มะขวิดคิดว่าเด็กรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยรู้จักกัน เชื่อว่าต้นก็ไม่เคยเห็น ลูกหรือผลก็คงไม่เคยสัมผัสว่ามีหน้าตาอย่างไร วันนี้ชวนมาชิมและช่วยกันขยายพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนกัน มะขวิด มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Burmese thanaka (นักวิชาการฝรั่งคงไปพบแถวพม่าจึงเรียกแบบนั้น), แต่ก็เรียกชื่ออื่นอีก เช่น Elephant's apple, Gelingga, Kavath, Wood apple มะขวิดเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Feronia limonia (L.) Swing.แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น Limonia acidissima L.

มะขวิดมี 2 สายพันธุ์ พันธุืที่มีผลใหญ่เนื้อหวาน และพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กเนื้อมีรสเปรี้ยว (อมหวานนิดๆ)  มะขวิดถือเป็นไม้มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ชาวอินเดียจึงใช้ประโยชน์กันมาก ถึงกับขนานนามมะขวิดว่า เป็นอาหารคนยาก (poor man's food) ซึ่งเป็นที่พึ่งของคนยากจนจำนวนมากในอินเดียเลย ในภาคอีสานบ้านเมืองไทย เรียกมะขวิดว่า มะยม (จึงอย่าสับสนเวลาคุยกับคนอีสาน)  ส่วนทางภาคเหนือเรียกว่า มะฟิด

มะขวิดเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางอยู่ในกลุ่มไม้ผลัดใบ สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ใบ ประกอบแบบขนนก ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ มีจุดต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้ มีกลิ่นอ่อนๆ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ

ผล เปลือกแข็งรูปกลม ผิวมีลักษณะเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู ภายในผลมีเนื้อมาก มีกลิ่นหอม เปลือกหนาและมีขน มะขวิดพบได้ในป่าธรรมชาติไปจนถึงประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพบว่ามีการนำไปปลูกเพื่อศึกษาในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาด้วย เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่างๆ ได้ดีและยังเติบโตได้ในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วงได้อีกด้วย

มะขวิด สามารนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารและยารักษาโรค ทุกส่วนของมะขวิดสามารนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ เช่น กินเนื้อสดๆ หรือนำไปปรุงเป็นน้ำมะขวิด กินแล้วช่วยบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น เจริญอาหาร ในมะขวิดมีกากใยอาหาร ช่วยขับถ่ายสะดวกและมีวิตามินซีสูงด้วย หรือใช้ผลดิบมาหั่นบางๆ นำไปตากแห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน กินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงทำให้สดชื่นได้เช่นกัน

ใบ มีสรรพคุณช่วยห้ามโลหิตระดูของสตรี และใช้ใบเป็นยาฝาดสมาน นำมาล้างน้ำตำพอกหรือทาแก้อาการฟกบวม ปวดบวม ช่วยรักษาฝี และโรคผิวหนังบางชนิด ในเวลานี้มีการค้นพบว่าใบมะขวิดมีต่อมน้ำมัน เมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์กำจัดเชื้อโรค จึงแก้อาการโรคผิวหนังได้ และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรคในหลอดทดลองด้วย นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยในใบหากนำมาต้มดื่มน้ำ จะมีสรรพคุณช่วยขับลมในท้องและแก้ท้องเสีย

ยาง จากลำต้นมะขวิดเป็นยาฝาดสมาน จึงช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงและห้ามเลือดได้ และด้วยความเหนียวของยางหรือมีกัม (gum) จำนวนมาก จึงนำมาใช้ประโยชน์ติดหรือเชื่อมต่อสิ่งของแบบเป็นกาวยาง และใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาหรือสีในงานจิตรกรรมไทย

ส่วนของเปลือก ใช้แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้อาการลงท้อง ตกโลหิตและแก้พยาธิ

คราวนี้ลองมาดูการใช้ของอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของมะขวิด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ผลดิบต้มน้ำกับดีปลีและผสมน้ำผึ้งนำมาจิบบ่อยๆ ช่วยลดอาการสะอึก หรือผลดิบอย่างเดียวใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ไอและเจ็บคอได้ ใบอ่อนคั้นเอาน้ำมาผสมนมและน้ำตาลทำเป็นลูกอมช่วยให้ระบบน้ำดีในร่างกายทำงานเป็นปกติเพื่อรักษาอาการผิดปกติที่เกิดจากลำไส้
 
น้ำคั้น จากใบอ่อนใช้ของอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของมะขวิด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ผลดิบต้มน้ำกับดีปลีและผสมน้ำผึ้งนำมาจิบบ่อยๆ ช่วยลดอาการสะอึก หรือผลดิบอย่างเดียวใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ไอและเจ็บคอได้ ใบอ่อนคั้นเอาน้ำมาผสมนมและน้ำตาลทำเป็นลูกอมช่วยให้ระบบน้ำดีในร่างกายทำ งานเป็นปกติ เพื่อรักษาอาการผิดปกตินให้เด็กกินแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้เช่นกัน ยางเหนียวของผลมะขวิดเมื่อตากแห้งแล้วป่นเป็นผงผสมน้ำผึ้ง ใช้กินรักษาโรคบิดและอาการท้องเสียในเด็ก หนามตามลำต้นนำมาบดเข้ายารักษาการตกเลือดขณะมีประจำเดือน เปลือกนำมาเคี่ยวรวมกับเปลือกต้นจิกใช้รักษาแผล และพบว่าในบางท้องถิ่นนำเปลือกต้นมะขวิดมาบดละเอียดทำเป็นแป้งทาหน้า นอกจาก นี้ ชาวอินเดียยังใช้มะขวิดเป็นยาบำรุงตับและหัวใจด้วย

ในฤดูฝนแบบนี้ จะมีน้ำยางจากลำต้นเป็นยางเหนียวใสออกมามาก ชาวอินเดียนิยมนำยางมาใช้ติดวัสดุและใช้เป็นส่วนผสมของสีน้ำสำหรับวาดรูป ใช้ทำหมึกและสีย้อมต่างๆ เปลือกผลมีความแข็งสามารนำมาทำเป็นภาชนะใส่ของ เนื้อไม้จากลำต้นมีสีเหลืองอมเทา เนื้อแข็งและหนัก นิยมนำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และนำมาแกะสลักเป็นงานศิลปะให้สีเนื้อไม้สวยงาม

นอกจากนี้ ในเนื้อมะขวิดมีน้ำตาลหลายชนิดที่ร่างกายต้องการ เช่น อะราไบโนส (arabinose) ไซโลส (xylose) ดี-กลูโคลส (d-galactose) แรมโนส (rhamnose) และกรดกลูคิวโลนิต (glucuronic acid) จึงนำมากินสดๆ หรือนำไปทำน้ำผลไม้ ทำแยมทาขนมปังกินกันรสอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ในประเทศไทยจำนวนประชากรมะขวิดลดลงเรื่อยๆ แม้ว่าจะพบเห็นการปลูกตามหมู่บ้านและในสวนบ้างแห่งแต่ก็มีไม่มากนัก ในวงการเกษตรกรรมปัจจุบันใช้มะขวิดเป็นต้นตอของมะนาว เพราะมะขวิด ทนแล้งทนการระบาดของแมลงได้ดี แต่ก็แค่เอาต้นมาใช้ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของมะขวิดแท้ๆ ซึ่งน่าเสียดายยิ่ง จึงชวนมิตรรักสมุนไพรหันมาช่วยกันปลูกและขยายพันธุ์มะขวิดกันมากๆ จะได้ไม้ใหญ่ยืนต้น ทรงพุ่มสวยงาม และได้ใช้ประโยชน์ทางอาหารและยาด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มาและภาพ จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/32071-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C.html