Tuesday, February 2, 2016

4 เคล็ดลับในการเลือกของเล่นให้ลูกน้อย




ของเล่นที่ดี นั้น คุณลักษณะของมันไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่คิดว่าของเล่นชิ้นนั้นมีประโยชน์อะไรกับลูกน้อย และที่สำคัญควรเป็นของเล่นที่ลูกน้อยคุณโปรดปราน เล่นแล้วไม่ทำให้เด็กเกิดความก้าวร้าว และไม่ส่งผลให้เด็กมีความเครียดเป็นพอ


1. ช่วงที่เจ้าตัวน้อยยังเล็กอยู่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันเลือกของเล่นที่จะ ช่วยส่งเสริมทางด้านทักษะทางร่างกายในขณะที่เขาเรียนรู้ที่จะเอื้อมมือ จับ กำ คว้า สิ่งของคลานวิ่ง ปีนป่ายและทรงตัวขณะที่เจ้าตัวน้อยจับต้องของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ตัวของเด็กเองจะมีความคล่องแคล่วในการควบคุมตัวเองไปพร้อมๆ กัน

2. นิทาน ก็จัดเป็นของเล่นชิ้นหนึ่งของเด็กเช่นกัน การที่คุณพ่อหรือจะเป็นคุณแม่หยิบยกนิทานซักเรื่องหนึ่งมาเล่าให้ เจ้าตัวน้อยฟังบวกกับท่าทางและน้ำเสียงในการเล่าจะทำเจ้าตัวน้อยรู้สึกสนุก ตามไปด้วยกับคุณและยังช่วยในการเรียนรู้ด้านภาษาเพิ่มขึ้นอีกด้วย
 

 3. ปริมาณในการเลือกซื้อของเล่น ไม่ควรให้มากขึ้นจนเกินไปจะทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกถึงความอยากได้อยากมี ชิ้นนู้นก็อยากเล่น ชิ้นนี้ก็อยากเล่นเหมือนกัน แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ซื้อของเล่นมาน้อยชิ้น เจ้าตัวน้อยของคุณก็จะเริ่มสำรวจตรวจตราดูคุณสมบัติ และการเชื่อมโยงความคิดนั้นเริ่มที่จะก่อเกิดเป็นจินตนาการให้ลูกน้อยของคุณ แล้ว

4. ของเล่นที่ซื้อจะต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยอย่าง เช่น วัย 1 ขวบ ของเล่นที่เหมาะสมกับเขาก็จะเป็นของเล่นที่มีความซับซ้อน เช่น บล็อกตัวต่อกล่องที่มีหลายๆ ชิ้น วัย 2-2ขวบครึ่ง จะมีจินตนาการเพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงเขาก็จะเล่นตุ๊กตา สวมเสื้อผ้าให้ตุ๊กตา แต่งตัวแต่งหน้าให้ตุ๊กตา ส่วนวัย 3 ขวบ พัฒนาการเริ่มเพิ่มขึ้นไปได้มาก เช่นวิ่งได้ พูดคุยเกือบรู้เรื่อง ช่วงนี้ลูกจะมีพลังเยอะมาก ชอบกระโดดโลดเต้น คุณแม่ลองเปิดเพลงให้เจ้าตัวน้อยฟัง และเต้นไปพร้อมกับเขาดูซิว่าใครจะมีท่าเต้นชวนหัวเราะมากกว่ากัน

 

คุณพ่อคุณแม่ก็มีส่วนร่วมเล่นของเล่นกับลูกน้อยได้ 

 
1. คุณพ่อคุณแม่นับว่าเป็นเพื่อนคนแรกของลูกน้อย และเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดเพราะไม่เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ที่จะมีบทบาทหน้าที่ ดูแลลูกน้อยอย่างเดียวแล้วยังมีบทบาทสำคัญในการเลือกของเล่นให้เจ้าตัวน้อย อีกด้วย เพราะถ้าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเท่าไรนั้น มักจะเป็นเด็กที่มีผู้ใหญ่เข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการเล่นเสมอ

2. คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองบางท่านที่เฝ้ามองดูพัฒนาการของลูกเพื่อค้นหา ระดับความสามารถของลูก และกิจกรรมที่น่าสนใจ ตามร่วมด้วยกับลูก โดยปรับระดับตัวเองลงมาให้เท่ากับลูก คุณพ่อคุณแม่อาจจะเพิ่มวิธีการเล่นให้ยากขึ้น หรือซับซ้อนขึ้น แต่คุณต้องปล่อยให้ลูกน้อยเป็นคนควบคุมเกมการเล่นด้วยตนเอง

3. เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ชวนกันเก็บของเล่นให้เรียบร้อย ให้เด็กรู้จักถนอมของเล่นของเขา เขาจะรู้จักรักษาของของเขา

 

การดูแลของเล่นให้ลูกน้อย

 
** วิธีการผลิตของเล่นอย่างประณีตและการเลือกซื้ออย่างถูกต้องยังนับว่าไม่ เพียงพอ จะต้องมีการใช้และการเก็บรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย ไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้ดีเท่าการดูแลของพ่อแม่และผู้ปกครอง


** คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ในเรื่องความปลอดภัย ก่อนที่จะให้ลูกน้อยได้เล่นของเล่น ควรที่จะอ่านคำแนะนำและวิธีการเล่นให้ละเอียดเสียก่อน และ ต้องมั่นใจด้วยว่าลูกเข้าใจ วิธีการเล่น ความเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องนี้ นอกจะเล่นของเล่นอย่างปลอดภัยด้วยแล้วและยังยืดอายุการเล่นของเล่นชิ้นนั้น อีกด้วย และอีกสิ่งที่ควรจำคือเด็กเล็กๆ จะเรียนรู้นิสัยการใช้ ของอย่างรอบคอบและปลอดภัยรวมทั้งความรู้จักรับผิดชอบจากคุณพ่อคุณแม่เรานี้ เอง

** คุณ พ่อคุณแม่ต้องหาเวลาว่างมาเล่นกับลูกน้อยนะค่ะไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตามที่ ช่วงเวลาแบบนี้คงจะเป็นแค่ช่วงเดียวที่คุณสามารถเก็บเป็นความทรงจำและเล่า ให้เขาฟัง แค่นี้ก็เป็นภาพความอบอุ่นสำหรับครอบครัวคุณตลอดไป



แหล่งที่มา  บันทึกคุณแม่  (Mothers' Digest)
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/CathyDeLacerda/cake-smash/

No comments:

Post a Comment