ชวนคุณแม่และลูกมาทำเครื่องดนตรีไว้เขย่ากัน
ค่ะ ให้นำเม็ดถั่ว
เหรียญ
ใส่ขวดพลาสติก 2-3
ขวด ปิดฝาขวดให้สนิท (นำสก็อตเทปมาปิดฝาขวดให้สนิท
เพื่อป้องกันเม็ดถั่วหรือเหรียญร่วงออกมา)
เสร็จแล้วคุณแม่นำมาเล่นเป็นเครื่องดนตรีด้วยการเขย่าขวดให้เป็นจังหวะ
แล้วให้ลูกเขย่าตามพร้อมกระตุ้นให้ลูกเต้นตามจังหวะ
หรืออาจใช้เครื่องดนตรีอย่างลูกแซคมาเขย่าด้วยก็ได้
เด็กๆ
กับเพลง ดนตรี และจังหวะเป็นของคู่กัน การเล่นเขย่าเครื่องดนตรีที่ทำขึ้นเองนี้
จะช่วยกระตุ้นโสตประสาทรับเสียงและความรับรู้เกี่ยวกับจังหวะที่มีอยู่ตาม
ธรรมชาติของลูก (ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางภาษา)
นอกจากนี้การเขย่าและการเต้นตามจังหวะจะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหว
ความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้อย่างดี
ในเรื่องการจับจังหวะเด็กวัย 12-15 เดือน
จะสามารถโยกตามเสียงเพลงหรือเครื่องดนตรีได้ เด็กวัย 18-24 เดือน
จะเขย่าเครื่องดนตรีพร้อมกับโยกตัวตามไปได้ ส่วนเด็กวัย 2-3 ขวบ
จะเขย่าเครื่องดนตรีเป็นจังหวะ 1-2-3 ตามแบบที่เห็นและได้ยินได้
อีกทั้งเด็กวัยนี้ชอบที่จะได้ยินเสียง เพลง
เสียงดนตรีที่เป็นจังหวะสนุกสนาน ร่วมกับสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว อยากรู้อยากเห็น
ชอบเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เด็กจึงมักชอบร้องเพลงและเต้นตามจังหวะเพลงที่ตนชอบ
เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีพัฒนาการในระดับที่สามารถทรงตัวได้มั่นคงแล้ว
การที่เด็กได้รับคำชมจะทำให้เด็กดีใจและกล้าแสดงออกมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการผ่านทางดนตรีในเด็กวัยนี้ด้วยการให้
เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงและดนตรีบ่อยๆ หลากหลายชนิดหลายจังหวะ
โดยเฉพาะเพลงที่มีคำคล้องจองกันเป็นจังหวะสนุกสนาน พยายามให้ลูกรับรู้เสียงรอบๆ
ตัวพร้อมกับเลียนเสียงเหล่านั้นให้เด็กเลียนเสียงตาม
ร่วมกับร้องเพลงที่มีเนื้อหาง่ายๆให้ฟังซ้ำๆ พร้อมกับปรบมือโยกตัวไปตามจังหวะ
ลูกจะรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา สังคมและอารมณ์
และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปพร้อมกันด้วย และที่สำคัญ คือ การให้ลูกมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคง
มีความผูกพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่
ลูกจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคล
อื่นต่อไปในอนาคตได้
แหล่งที่มา http://www.enfababy.com
เครดิตภาพ
https://www.pinterest.com/explore/cute-babies/
No comments:
Post a Comment