พัฒนาการเด็ก 1
เดือนลูก สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นและไกลขึ้น
โดยเฉพาะใบหน้าของคุณแม่และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ รวมทั้งการกอด การเล่นออกเสียงลูกน้อยก็สามารถรับรู้ได้แล้วค่ะ
วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเรื่องน่ารู้จากนิตยสาร รักลูก ที่จะมาเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยในวัย
1 เเดือน มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ
แม้ สายตาจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่นัก แต่เด็กทารกตั้งแต่ 1 เดือนแรกก็มองเห็นใบหน้าของผู้คนได้แล้วนะคะ ทั้งยังชอบมองหน้าพ่อแม่อีกด้วย
แม้ สายตาจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่นัก แต่เด็กทารกตั้งแต่ 1 เดือนแรกก็มองเห็นใบหน้าของผู้คนได้แล้วนะคะ ทั้งยังชอบมองหน้าพ่อแม่อีกด้วย
ลูกชอบมองหน้าพ่อกับแม่
แม้ว่าเด็กแรกเกิดจะมองเห็นแค่ลาง ๆ แต่ก็รับรู้ได้ถึงความมืด ความสว่าง ซึ่งการศึกษาวิจัยของ ดร.โรเบิร์ด แฟนซ์ จิตแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก ปี 1960 ยืนยันได้ว่าเด็กทารกชอบมองหน้าคนมากกว่าภาพนิ่ง ๆ โดย ดร.โรเบิร์ด ให้เด็กทารกวัย 2 เดือนมองภาพคนกับภาพเบ้าตาวัวสลับกัน แล้วพบว่าดวงตาของเด็กทารกสะท้อนภาพคนมากกว่า
ในสัปดาห์แรกแม้ลูกจะเห็นหน้าแม่เป็นแค่ภาพลาง ๆ แต่ถ้าแม่ทำหน้าตาให้ลูกดู หัวเราะ ยิ้ม แลบลิ้น ทำปากจู๋ ฯลฯ ลูกก็รับรู้และพร้อมจะเลียนแบบได้แล้ว โดยเฉพาะแม่ที่ยิ้มให้ลูกบ่อย ๆ ลูกจะรู้จักการยิ้มได้เร็ว เรียนรู้ที่จะยิ้มตอบ ยิ้มทัก และมีพัฒนาการที่ดีเพิ่มขึ้นไปอีก
แม่ยิ้มหนูก็ยิ้ม
จาก กรณีศึกษาวิจัยเรื่อง Still Face Experiment ของดร.เอ็ดเวิร์ด โทรนิค ที่ให้แม่กับลูกอยู่ในห้องด้วยกัน ช่วงแรกแม่ทำหน้าคุยกับลูกสนุกสนาน ชี้ชวนลูกทำนั่นทำนี่ ลูกยิ้มรับและมีความสุขมาก แต่จากนั้น ดร.เอ็ดเวิร์ด ให้แม่หันหลังแล้วทำหน้านิ่ง ๆ ผลปรากฏว่าลูกรับรู้อารมณ์ที่เปลี่ยนไปของแม่ พยายามชี้ชวนให้เล่น แกล้งหันไปมองที่อื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่แม่ยังคงนิ่งเฉย สุดท้ายลูกก็ร้องไห้งอแง และเมื่อแม่ปรับเป็นสีหน้ายิ้ม และเข้าไปโอบกอดลูก ทารกคนนั้นก็กลับมาหัวเราะร่าเริงดังเดิม
1. เด็กรับรู้อารมณ์ของแม่ผ่านใบหน้าได้ ถ้าแม่ทำหน้านิ่งเฉย นี่คือารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าแม่ยิ้มคือใบหน้าที่กำลังมีความสุข เป็นต้น
2. เด็กทารกควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และจดจ่อกับอารมณ์ของตัวเองได้ด้วย เพราะเด็ก ๆ รับรู้ว่าหากเกิดอารมณ์แบบนี้กับคนเลี้ยงดูจะแก้ปัญหา และจดจ่อกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างไร
3. เด็กจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้แม่มีอารมณ์ร่วมกับเขามากที่สุด นี่คือความฉลาดของเด็กทุกคน ขณะเดียวกันการศึกษาก็บอกให้รู้ว่าอนาคตของเด็กถูกทำลายได้ ผ่านปฏิสัมพันธ์ของแม่หรือผู้เลี้ยงดู
หาก แม่ไม่ยิ้ม ไม่ปลอบใจลูกในช่วงที่เขาร้อง เด็กจะจดจำไปตลอดชีวิต ส่งผลให้ลูกเติบโตไปเป็นเด็กก้าวร้าวไม่มั่นคงทางอารมณ์ อยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ยากลำบาก เพราะเด็กจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มโกรธเกรี้ยว ซึมเศร้า อยู่ไม่สุข สมาธิสั้น เป็นต้น
ทำแบบนี้ ลูกอารมณดีแน่นอน
สิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ นอกจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มของพ่อและแม่แล้ว พ่อแม่ต้องปฏิบัติดังนี้ควบคู่ไปด้วย
1. โอบ กอด สัมผัส เหล่านี้ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูก ช่วยให้อารมณ์สงบ
2. พาลูกออกไปข้างนอก เพื่อสร้างการเรียนรู้ และพบปะผู้คน เพราะเด็ก ๆ ชอบมองสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง
3. เมื่อลูกนั่งได้ให้เล่านิทานให้ลูกฟัง ส่ายสายตาไปตามตัวหนังสือ ร้องเพลงให้ลูกฟัง เมื่อแม่หัวเราะ ลูกก็จะหัวเราะตาม
4. เล่นขยับร่างกาย จะช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ
เด็กวัย 1 เดือน เรียนรู้เรื่องอารมณ์ของพ่อแม่ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น นอกจากการยิ้มและหัวเราะกับลูกแล้วพ่อแม่ยังต้องตอบสนองความรู้สึกของลูกให้ เร็วและเหมาะสมด้วย เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รักลูก Rakluke.com
ปีที่ 33 ฉบับที่ 394
พฤศจิกายน 2558
เครดิตภาพ
https://plus.google.com/+kwmccabe/posts/EwtncX28TJs
No comments:
Post a Comment