1)
ส่งเสริมกิจกรรมระหว่างวันเมื่อลูกตื่นให้พูดคุยร้องเพลง
หรือเล่นกับลูกในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงสว่างและเสียงปกติ
2)
เข้านอนเวลาเดิมหากิจกรรมและสร้างบรรยากาศในห้องให้ผ่อนคลาย เช่น ร้องเพลง
อ่านนิทาน เปิดไฟสลัว คุยด้วยเสียงเบา สงบ
ไม่เล่นเพื่อให้ลูกรู้ว่าเวลานอนไม่ใช่เวลาเล่น
3)
อุ้มลูกวางบนเตียงขณะง่วงและตื่นอยู่
เพื่อให้เด็กเชื่อมโยงความสัมพันธ์การนอนและเตียงนอนด้วยประโยคเดิมๆ ซ้ำๆ
ด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานเช่น “นอนซะนะลูก” แล้วค่อยเดินออกจากห้อง
4) เวลากลางคืนการดูแลควรใช้ความนุ่มนวล ถ้ารู้สึกว่าลูกโมโห โกรธ
หรือร้องไห้นานอาจจะหอมแก้ม ลูบหัวเบาๆ ปลอบโยน
เพื่อให้เขารู้สึกอบอุ่นจากนั้นค่อยออกจากห้อง
แต่ถ้าได้ยินเสียงร้องก็ค่อยกลับมาหอมแก้มใหม่ทำอย่างนี้หลายรอบหน่อย จนกว่าเด็กจะเมื่อยล้าและหลับไปเอง
5) ให้ลูกกอดตุ๊กตา เพราะการกอดจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและวางใจ
แต่อาจจะติดตุ๊กตาได้ ดังนั้นหลังที่ลูกหลับสนิทแล้ว
คุณแม่ควรดึงตุ๊กตาเปลี่ยนให้กอดหมอนข้างจะดีกว่า
6) ปล่อยให้ร้องไห้และออกมาจากห้อง วิธีคือเมื่อแม่ส่งลูกเข้านอนแล้วให้รีบออกจากห้องและกลับมาอีกครั้งภายใน
30 นาทีเพื่อปลอบเขาแล้วออกมาจากห้องอีกครั้ง
ถ้าลูกยังร้องอยู่ให้รออีก 5 นาทีแล้วค่อยเข้าไปปลอบใหม่
พยายามทำอย่างนี้ทุกวันและเพิ่มเวลาการเข้ามาปลอบจาก5 นาทีเป็น10
นาที จะสังเกตว่าลูกจะเหนื่อย และหลับได้เองในที่สุด
วิธีนี้อาจยากสักหน่อยเพราะบางคนอาจร้องไห้นาน
พ่อแม่คงต้องทำใจทนฟังเสียงร้องไห้ แนะนำให้ใช้นาฬิกาจับเวลา
หากลูกไม่ร้องแต่ยังไม่ยอมนอนก็ไม่ควรเข้าไปหา
แล้วขณะที่นั่งรอลูกหลับพยายามอย่าสนใจกับเสียงร้องกวนหรือเฝ้าสังเกตลูกมาก
เกินไปให้ทำเป็นไม่สนใจ เพื่อปล่อยให้ลูกหลับโดยธรรมชาติ วันต่อมาก็ค่อยๆ
เพิ่มระยะห่างที่นั่งเฝ้าออกไปทุกๆ วัน
จนในที่สุดแค่เพียงมาส่งลูกเข้านอนที่ห้องเท่านั้น
7)
สำหรับการไกวเปลที่ไม่รุนแรงจะไม่มีผลต่อพัฒนาการทางสมอง
แต่เปลอาจมีข้อเสียบางอย่าง เช่นเปลผ้าเด็กนอนแล้วหลังงอและเด็กจะไม่สามารถนอนคว่ำได้อาจทำให้หายใจไม่
ออก และสำหรับเปลลูกกรงมีข้อเสียคือ ระยะจุดหมุนของเปลถึงก้นเปลสั้นเกินไป
รัศมีการไกวแคบ เวลาไกวเปลเด็กจะถูกเหวี่ยงไปมา จะทำให้เด็กรู้สึกเวียนศีรษะ
มีอาการโยนไปมาและทำให้เด็กเอียงไปติดข้างเปล โยนไปโยนมา ทำให้โยเย ไม่ยอมนอน เปลประเภทนี้เหมาะกับเด็กตั้งแต่
1 ขวบขึ้นไปซึ่งแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเล็ก
เพลงกล่อมลูก
มนุษย์ ทุกชาติ ทุกภาษาและวัฒนธรรมล้วนแต่มีเพลงพื้นเมืองหรือเพลงประจำถิ่น เอาไว้ร้องเล่นเป็นส่วนหนึ่งในทุกๆกิจกรรมของชีวิต เพลงกล่อมลูกก็เป็นหนึ่งในจำนวนบทเพลงเหล่านั้นเช่นกัน ถือเป็นบทเพลงที่เก่าแก่ มีอายุยาวนานมากที่สุด นับตั้งแต่ที่มนุษย์ยังไม่มีภาษาพูด และยังไม่รู้จักการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเริ่มจากการเห่กล่อมด้วยกิริยาท่าทาง การโอบอุ้ม-โอบกอดลูกอย่างรักใคร่ทะนุถนอม และออกเสียงอือๆ ออๆ ในลำคอไปด้วย จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำคล้ายเสียงดนตรี และในที่สุด เมื่อมีภาษาพูด เพลงกล่อมลูกแบบง่ายๆก็เกิดขึ้นตามภาษาพูดของแต่ละชนชาติต่างกันไป
นอกจากนั้นเพลงกล่อมลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของการได้ยินให้กับทารกในครรภ์ เพราะเสียงเพลงจากแม่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้โดยตรงตั้งแต่เด็กยังอยู่ใน ท้องแม่ ความสูงต่ำของทำนองเพลงจะกระตุ้นให้เซลล์สมองที่ทำหน้าที่รับเสียงในแต่ละ ย่านความถี่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทำให้เด็กมีความสามารถในการแยกแยะความสูงต่ำของเสียงได้ นี่คือรากฐานของพัฒนาการด้านภาษานั่นเอง
http://www.momypedia.com
เครดิตภาพ http://brainscanthai.com/news.php?page=7
No comments:
Post a Comment