Sunday, January 31, 2016

เคล็ดลับการฝึกลูกน้อยกินผลไม้





นอกจากผักแล้ว ผลไม้ก็เป็นแหล่งของแร่ธาตุและวิตามินชั้นดี เมื่อเปรียบเทียบกันเด็กอาจจะชอบกินผลไม้มากกว่าผัก เพราะรสชาติหอมหวานกินง่ายกว่า แถมสีสันก็ดึงดูดใจกว่า แต่ลูกน้อยก็อาจยี้ผลไม้ได้เช่นกัน ถ้าไม่ได้รับการฝึกให้กินเป็นนิสัย หรือเริ่มต้นให้กินแบบไม่ถูกต้อง เช่น เปลี่ยนชนิดผลไม้เร็วเกินไปเมื่อเริ่มให้กินผลไม้ใหม่ๆ เลือกผลไม้ที่ไม่ถูกใจลูก หรือคนในบ้านเองไม่มีใครกินผลไม้ให้เด็กเห็น หรือให้ขนมหวานจนลูกติดใจรสชาติขนม ไม่สนใจรสชาติของผลไม้ เป็นต้น 

เด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป เป็นวัยที่เหมาะสำหรับการให้ลูกได้ลิ้มลองผลไม้หลากหลายชนิด เพราะเขาอยู่ในวัยที่กินอาหารได้หลากหลายคล้ายผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งสามารถทำได้ โดย...
 
     เริ่มจากให้ทีละชนิด จะได้เรียนรู้รสชาติของผลไม้แต่ละอย่างที่แตกต่าง และพ่อแม่ต้องกินไปพร้อมกับลูก
 
     เริ่มจากชนิดที่มีเนื้อนิ่ม ยุ่ย เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก มะม่วงสุก แตงโม เป็นต้น
 การกินเป็นชิ้นจะได้เส้นใยจากผลไม้มากกว่าปั่นเป็นน้ำ
 
     ให้ครั้งละน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น
 
     สลับชนิดผลไม้และหน้าตาให้หลากหลาย เช่น ตักเป็นลูกกลมๆ แบบไอศกรีม หั่นเป็นชิ้นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น
 
     จัดผลไม้เป็นอาหารว่างเจ้าประจำ (ทุกวัน) ของลูกตั้งแต่เล็กๆ อย่างน้อยวันละ 1 ชนิด
 
     ควรกินผลไม้สด เพื่อให้ได้ประโยชน์แบบเต็มๆ เพราะผลไม้ที่ผ่านการถนอมอาหารหรือกรรมวิธีการปรุง ปริมาณสารอาหารจะลดลง
 
     ผลไม้ที่สุกจนงอมปริมาณวิตามินจะลดลง เช่นเดียวกับผลไม้ที่ปอกทิ้งไว้นานๆ จึงควรปอกเมื่อจะกินดีกว่า

แหล่งที่มา  http://www.enfababy.com
เครดิตภาพ  http://littlepawz.tumblr.com/post/19132666387/baby-snow-white-so-sweet

Saturday, January 30, 2016

ส่งเสริมพัฒนาการลูกด้วยการเขย่าตามจังหวะ...เพื่อแม่และเด็ก




       ชวนคุณแม่และลูกมาทำเครื่องดนตรีไว้เขย่ากัน ค่ะ ให้นำเม็ดถั่ว  เหรียญ ใส่ขวดพลาสติก 2-3 ขวด  ปิดฝาขวดให้สนิท (นำสก็อตเทปมาปิดฝาขวดให้สนิท เพื่อป้องกันเม็ดถั่วหรือเหรียญร่วงออกมา) เสร็จแล้วคุณแม่นำมาเล่นเป็นเครื่องดนตรีด้วยการเขย่าขวดให้เป็นจังหวะ แล้วให้ลูกเขย่าตามพร้อมกระตุ้นให้ลูกเต้นตามจังหวะ หรืออาจใช้เครื่องดนตรีอย่างลูกแซคมาเขย่าด้วยก็ได้


         เด็กๆ กับเพลง ดนตรี และจังหวะเป็นของคู่กัน การเล่นเขย่าเครื่องดนตรีที่ทำขึ้นเองนี้ จะช่วยกระตุ้นโสตประสาทรับเสียงและความรับรู้เกี่ยวกับจังหวะที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติของลูก (ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางภาษา) นอกจากนี้การเขย่าและการเต้นตามจังหวะจะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหว ความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้อย่างดี


         ในเรื่องการจับจังหวะเด็กวัย 12-15 เดือน จะสามารถโยกตามเสียงเพลงหรือเครื่องดนตรีได้ เด็กวัย 18-24 เดือน จะเขย่าเครื่องดนตรีพร้อมกับโยกตัวตามไปได้  ส่วนเด็กวัย 2-3 ขวบ จะเขย่าเครื่องดนตรีเป็นจังหวะ 1-2-3 ตามแบบที่เห็นและได้ยินได้ 


         อีกทั้งเด็กวัยนี้ชอบที่จะได้ยินเสียง เพลง เสียงดนตรีที่เป็นจังหวะสนุกสนาน ร่วมกับสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว อยากรู้อยากเห็น ชอบเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เด็กจึงมักชอบร้องเพลงและเต้นตามจังหวะเพลงที่ตนชอบ เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีพัฒนาการในระดับที่สามารถทรงตัวได้มั่นคงแล้ว การที่เด็กได้รับคำชมจะทำให้เด็กดีใจและกล้าแสดงออกมากขึ้น


         คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการผ่านทางดนตรีในเด็กวัยนี้ด้วยการให้ เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงและดนตรีบ่อยๆ หลากหลายชนิดหลายจังหวะ โดยเฉพาะเพลงที่มีคำคล้องจองกันเป็นจังหวะสนุกสนาน พยายามให้ลูกรับรู้เสียงรอบๆ ตัวพร้อมกับเลียนเสียงเหล่านั้นให้เด็กเลียนเสียงตาม ร่วมกับร้องเพลงที่มีเนื้อหาง่ายๆให้ฟังซ้ำๆ พร้อมกับปรบมือโยกตัวไปตามจังหวะ ลูกจะรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา สังคมและอารมณ์ และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปพร้อมกันด้วย และที่สำคัญ คือ การให้ลูกมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคง มีความผูกพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคล อื่นต่อไปในอนาคตได้


แหล่งที่มา  http://www.enfababy.com
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/explore/cute-babies/

Friday, January 29, 2016

โรคหอบหืดในเด็ก ดูแลป้องกันอย่างไร !




  โรคหอบหืดในเด็ก หรือ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ ปี นั่นเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและมลพิษก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคหอบหืด แล้วจะดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกลโรคหอบหืด วันนี้กระปุกดอทคอมมีแนวทางแก้ไขจากนิตยสาร MODERNMOM ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่หายขาดแต่อนาคตลูกก็จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติและดูแลตัวเอง ให้ดีขึ้นได้เองค่ะ ^^

          โดยทั่วไปในเด็กที่เป็นหอบหืดตั้งแต่เล็กจะโชคดีกว่าที่เป็นตอนโต หรือตอนเป็นผู้ใหญ่ เพราะส่วนใหญ่หลังอายุประมาณ 5 ขวบไปแล้ว อาการหอบหืดก็มักจะดีขึ้นเองครับ


          ในเด็กที่เป็นหอบหืดมักมีอาการเป็นช่วง ๆ หากได้รับสิ่งกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิแพ้ของร่างกายครับเช่น มีการติดเชื้อจากไข้หวัดที่โดยทั่วไปเป็นเชื้อไวรัส ถูกกระตุ้นจากการออกกำลังกาย หรือได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่

          หากคุณแม่สังเกตได้ว่าลูกจะหอบเมื่อไร จากสาเหตุอะไร แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นก็จะทำให้ลูกมีอาการหอบหืดน้อยลง ได้ครับ ยกตัวอย่าง หากเขามักมีอาการหอบเมื่อป่วยเป็นไข้ไม่สบายก็ต้องพยายามดูแลสุขภาพร่างกาย กันให้แข็งแรงเข้าไว้ครับ เช่น ฉีดหรือรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่สามารถป้องกันได้ตามวัย หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการรับเชื้อโรคจากผู้อื่นโดยการดูแลสุขวิทยาพื้นฐานอย่างเคร่งคัด หากลูกมีอาการหอบหืดเมื่อออกกำลังกายก็ควรปรึกษาคุณหมอที่รักษากันอยู่นะ ครับ เพราะคุณหมอมียาที่สามารถป้องกันอาการหอบหืดจากการออกกำลังได้ครับ หากลูกมีอาการหอบจากสารก่อภูมิแพ้คุณแม่จะต้องสังเกตว่าสารอะไรในสิ่งแวด ล้อมที่ทำให้ลูกแพ้แล้วมีอาการหอบ บางชนิดสามารถทำการทดสอบได้ครับ ตรงนี้ต้องปรึกษาคุณหมอที่รักษาภูมิแพ้กันอยู่นะครับ

          นอกจากการดูแลสุขภาพกันแล้วก็ต้องรักษาอาการหอบหืดกันอย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ ในเด็กที่หอบไม่บ่อยคุณหมออาจให้การรักษาเฉพาะเมื่อมีอาการหอบ หรือบางช่วงที่มีโอกาสหอบได้บ่อย เช่น ฤดูหนาว ส่วนในเด็กที่มีอาการหอบบ่อย เช่น สัปดาห์หนึ่งหอบหลายวัน คุณหมอก็มียาที่สามารถควบคุมอาการให้ปลอดจากอาการหอบได้

          ปัจจุบันนับว่าโชคดีครับคุณแม่ เพราะยารักษาหอบหืดในเด็กมีประสิทธิภาพดีมาก ขณะที่อันตรายจากยาก็จะน้อยลงไปด้วย หากคุณแม่ใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดก็สบายใจไปได้มากครับว่า ลูกจะปลอดภัยจากการใช้ยา หากช่วงไหนมีอาการมากยังควบคุมอาการไม่ได้ก็ หยุดโรงเรียนดีกว่านะครับจะได้ไม่เป็นอันตรายเวลาที่ไม่มีคนดูแล แต่หากสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยาและลูกก็ไม่เหนื่อยเกินกว่าที่จะไป โรงเรียน ไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่จะติดจากคนอื่นได้ก็สามารถให้ลูกไปโรงเรียนพร้อม ยาที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ครับ

          สิ่งที่อยากฝากคุณแม่ไว้ก็คือว่า แม้ลูกจะเป็นหอบหืดในเวลาที่เขาไม่หอบก็เป็นเด็กปกติคนหนึ่งครับ การดูแลขอให้ดูแลเหมือนเด็กปกติคนอื่น ๆไม่ต้องมีอะไรมากเป็นพิเศษ เราจะช่วยเหลือและดูแลเป็นพิเศษเมื่อเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีตอน เจ็บป่วยก็พอครับ เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาพฤติกรรมต่อไปในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
MODERNMOM
Vol.21 No.241 พฤศจิกายน 2558
http://baby.kapook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%
เครดิตภาพ  https://www.etsy.com/listing/115502667/cream-baby-hat-newborn-baby-girl-hat

Thursday, January 28, 2016

ใบหน้าแม่สร้างความมั่นคงให้ลูก ตั้งแต่วัย 1 เดือน




พัฒนาการเด็ก 1 เดือนลูก สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นและไกลขึ้น โดยเฉพาะใบหน้าของคุณแม่และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ รวมทั้งการกอด การเล่นออกเสียงลูกน้อยก็สามารถรับรู้ได้แล้วค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเรื่องน่ารู้จากนิตยสาร รักลูก ที่จะมาเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยในวัย 1 เเดือน มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

        
แม้ สายตาจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่นัก แต่เด็กทารกตั้งแต่ 1 เดือนแรกก็มองเห็นใบหน้าของผู้คนได้แล้วนะคะ ทั้งยังชอบมองหน้าพ่อแม่อีกด้วย


ลูกชอบมองหน้าพ่อกับแม่

         แม้ว่าเด็กแรกเกิดจะมองเห็นแค่ลาง ๆ แต่ก็รับรู้ได้ถึงความมืด ความสว่าง ซึ่งการศึกษาวิจัยของ ดร.โรเบิร์ด แฟนซ์ จิตแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก ปี 1960 ยืนยันได้ว่าเด็กทารกชอบมองหน้าคนมากกว่าภาพนิ่ง ๆ โดย ดร.โรเบิร์ด ให้เด็กทารกวัย 2 เดือนมองภาพคนกับภาพเบ้าตาวัวสลับกัน แล้วพบว่าดวงตาของเด็กทารกสะท้อนภาพคนมากกว่า

         ในสัปดาห์แรกแม้ลูกจะเห็นหน้าแม่เป็นแค่ภาพลาง ๆ แต่ถ้าแม่ทำหน้าตาให้ลูกดู หัวเราะ ยิ้ม แลบลิ้น ทำปากจู๋ ฯลฯ ลูกก็รับรู้และพร้อมจะเลียนแบบได้แล้ว โดยเฉพาะแม่ที่ยิ้มให้ลูกบ่อย ๆ ลูกจะรู้จักการยิ้มได้เร็ว เรียนรู้ที่จะยิ้มตอบ ยิ้มทัก และมีพัฒนาการที่ดีเพิ่มขึ้นไปอีก
 

แม่ยิ้มหนูก็ยิ้ม

         จาก กรณีศึกษาวิจัยเรื่อง Still Face Experiment ของดร.เอ็ดเวิร์ด โทรนิค ที่ให้แม่กับลูกอยู่ในห้องด้วยกัน ช่วงแรกแม่ทำหน้าคุยกับลูกสนุกสนาน ชี้ชวนลูกทำนั่นทำนี่ ลูกยิ้มรับและมีความสุขมาก แต่จากนั้น ดร.เอ็ดเวิร์ด ให้แม่หันหลังแล้วทำหน้านิ่ง ๆ ผลปรากฏว่าลูกรับรู้อารมณ์ที่เปลี่ยนไปของแม่ พยายามชี้ชวนให้เล่น แกล้งหันไปมองที่อื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่แม่ยังคงนิ่งเฉย สุดท้ายลูกก็ร้องไห้งอแง และเมื่อแม่ปรับเป็นสีหน้ายิ้ม และเข้าไปโอบกอดลูก ทารกคนนั้นก็กลับมาหัวเราะร่าเริงดังเดิม

         1. เด็กรับรู้อารมณ์ของแม่ผ่านใบหน้าได้ ถ้าแม่ทำหน้านิ่งเฉย นี่คือารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าแม่ยิ้มคือใบหน้าที่กำลังมีความสุข เป็นต้น

         2. เด็กทารกควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และจดจ่อกับอารมณ์ของตัวเองได้ด้วย เพราะเด็ก ๆ รับรู้ว่าหากเกิดอารมณ์แบบนี้กับคนเลี้ยงดูจะแก้ปัญหา และจดจ่อกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างไร

         3. เด็กจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้แม่มีอารมณ์ร่วมกับเขามากที่สุด นี่คือความฉลาดของเด็กทุกคน ขณะเดียวกันการศึกษาก็บอกให้รู้ว่าอนาคตของเด็กถูกทำลายได้ ผ่านปฏิสัมพันธ์ของแม่หรือผู้เลี้ยงดู

         หาก แม่ไม่ยิ้ม ไม่ปลอบใจลูกในช่วงที่เขาร้อง เด็กจะจดจำไปตลอดชีวิต ส่งผลให้ลูกเติบโตไปเป็นเด็กก้าวร้าวไม่มั่นคงทางอารมณ์ อยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ยากลำบาก เพราะเด็กจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มโกรธเกรี้ยว ซึมเศร้า อยู่ไม่สุข สมาธิสั้น เป็นต้น
 

ทำแบบนี้ ลูกอารมณดีแน่นอน

         สิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ นอกจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มของพ่อและแม่แล้ว พ่อแม่ต้องปฏิบัติดังนี้ควบคู่ไปด้วย

         1. โอบ กอด สัมผัส เหล่านี้ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูก ช่วยให้อารมณ์สงบ

         2. พาลูกออกไปข้างนอก เพื่อสร้างการเรียนรู้ และพบปะผู้คน เพราะเด็ก ๆ ชอบมองสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง

         3. เมื่อลูกนั่งได้ให้เล่านิทานให้ลูกฟัง ส่ายสายตาไปตามตัวหนังสือ ร้องเพลงให้ลูกฟัง เมื่อแม่หัวเราะ ลูกก็จะหัวเราะตาม

         4. เล่นขยับร่างกาย จะช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ

         เด็กวัย 1 เดือน เรียนรู้เรื่องอารมณ์ของพ่อแม่ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น นอกจากการยิ้มและหัวเราะกับลูกแล้วพ่อแม่ยังต้องตอบสนองความรู้สึกของลูกให้ เร็วและเหมาะสมด้วย เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รักลูก Rakluke.com
ปีที่ 33 ฉบับที่ 394 พฤศจิกายน 2558
เครดิตภาพ  https://plus.google.com/+kwmccabe/posts/EwtncX28TJs