มาไขข้อสงสัยและหาข้อพิสูจน์เรื่องความเชื่อต่าง ๆ
เกี่ยวกับถั่วเหลือง ที่รู้แล้วเลิกกังวลได้แน่นอน
ถั่วเหลือง ธัญพืชที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย แถมยังเหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือคนที่ทานมังสวิรัติ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ อาหารมากมายหลายชนิดก็ต้องใช้ถั่วเหลืองในการประกอบอาหาร แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยได้ยินเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับถั่วเหลืองว่า อาจเป็นสาเหตุของโรคบางชนิดได้ จนทำให้ไม่มั่นใจว่าถั่วเหลืองนั้นดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ กระปุกดอทคอมเลยขออาสาไขข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับถั่วเหลืองให้ผู้ที่กำลังลังเลกับการรับประทานถั่วเหลืองได้ คลายกังวลกัน
ความเชื่อ : ถั่วไม่ใช่แหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด
ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิดเลยค่ะ เพราะที่จริงแล้วถั่วเหลืองนี่ละเป็นพืชที่มีโปรตีนสมบูรณ์ หรือจะอธิบายให้เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือถั่วเหลืองมีโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญและร่างกายต้องการ อยู่ครบถ้วน แถมยังมีเยอะกว่าในเนื้อสัตว์อีกด้วย โดยเว็บไซต์ huffingtonpost.com ได้เปิดเผยการศึกษาที่พบว่าถั่วเหลืองที่ถูกปรุงจนสุกเพียง 1 ถ้วย มีปริมาณโปรตีนถึง 22 กรัม ซึ่งมากกว่าสเต็ก 1 ชิ้นซะอีก แต่ถ้าหากนำถั่วเหลืองไปทำเป็นเต้าหู้ก็จะทำให้ปริมาณโปรตีนลดลง ดั้งนั้นทางที่ดีเลือกรับประทานถั่วเหลืองที่ยังเป็นเม็ด ๆ จะดีกว่าค่ะ
ความเชื่อ : อาหารดัดแปลงจากถั่วเหลืองก็ได้คุณค่าทางอาหารเท่ากับถั่วเหลืองสด
ในช่วงเทศกาลกินเจ เรามักจะได้เห็นการนำถั่วเหลืองมาดัดแปลงให้ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ บางร้านก็ทำออกมาเหมือนเนื้อสัตว์จนแทบแยกไม่ออก แต่รู้หรือเปล่าว่าอาหารเหล่านั้นถึงแม้ว่าจะมีโปรตีนจากถั่วเหลืองก็จริง แต่ในกระบวนการผลิตก็ผ่านการดัดแปลงและปรุงแต่งรสชาติจนทำให้โปรตีนถั่ว เหลืองเหล่านี้มีโซเดียมและไขมันสูง เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ ก็อาจจะทำให้อ้วนอีกด้วย ดังนั้นรับประทานถั่วเหลืองสดที่ยังไม่ผ่านการดัดแปลงดีกว่าค่ะ
ความเชื่อ :
การรับประทานถั่วเหลืองทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้
แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้อธิบายไว้ในบทความบนเว็บไซต์ของ สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย ว่ายังไม่มีผลวิจัยใดสรุปว่าการรับประทานถั่วเหลืองจะทำให้เป็นโรคมะเร็งได้
แต่ก็มีการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่อยู่ในถั่วเหลืองอาจเชื่อมโยงกับโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในหญิงวัย หมดประจำเดือน แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน ดังนั้นจึงควรรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงการการรับประทานถั่วเหลืองที่เก่าเก็บ หรือมีการเก็บรักษาที่ไม่ดี และอาหารจำพวกเต้าหู้หรือเต้าเจี้ยวที่มีกรรมวิธีการทำที่ไม่ดี ไม่สะอาด เพราะอาจมีการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็งตับได้ค่ะ
ความเชื่อ : รับประทานถั่วเหลืองมาก ๆ อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ถั่วเหลืองสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า สารที่อยู่ในถั่วเหลืองอย่าง เดดซีน (daidzein) และ จีนิสทีน (genistein) จะไปช่วยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นไม่ต้องห่วงคุณผู้ชายสามารถกับประทานถั่วเหลืองได้แน่นอน แต่ก็ควรรับประทานให้พอเหมาะค่ะ
แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้อธิบายไว้ในบทความบนเว็บไซต์ของ สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย ว่ายังไม่มีผลวิจัยใดสรุปว่าการรับประทานถั่วเหลืองจะทำให้เป็นโรคมะเร็งได้
แต่ก็มีการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่อยู่ในถั่วเหลืองอาจเชื่อมโยงกับโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในหญิงวัย หมดประจำเดือน แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน ดังนั้นจึงควรรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงการการรับประทานถั่วเหลืองที่เก่าเก็บ หรือมีการเก็บรักษาที่ไม่ดี และอาหารจำพวกเต้าหู้หรือเต้าเจี้ยวที่มีกรรมวิธีการทำที่ไม่ดี ไม่สะอาด เพราะอาจมีการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็งตับได้ค่ะ
ความเชื่อ : รับประทานถั่วเหลืองมาก ๆ อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ถั่วเหลืองสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า สารที่อยู่ในถั่วเหลืองอย่าง เดดซีน (daidzein) และ จีนิสทีน (genistein) จะไปช่วยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นไม่ต้องห่วงคุณผู้ชายสามารถกับประทานถั่วเหลืองได้แน่นอน แต่ก็ควรรับประทานให้พอเหมาะค่ะ
ความเชื่อ : หากเป็นมะเร็งอยู่แล้วไม่ควรรับประทานถั่วเหลือง
เรื่องนี้ แพทย์หญิงพวงทอง ให้ข้อมูลไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถรับประทานถั่วเหลืองได้ตามปกติ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งเกี่ยวกับมดลูก ก็ไม่ควรที่จะรับประทานถั่วเหลือง เพราะจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในถั่วเหลืองไปทำให้การรักษาด้วยยาต้าน ฮอร์โมนนั้นเกิดผลกระทบได้
เรื่องนี้ แพทย์หญิงพวงทอง ให้ข้อมูลไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถรับประทานถั่วเหลืองได้ตามปกติ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งเกี่ยวกับมดลูก ก็ไม่ควรที่จะรับประทานถั่วเหลือง เพราะจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในถั่วเหลืองไปทำให้การรักษาด้วยยาต้าน ฮอร์โมนนั้นเกิดผลกระทบได้
ความเชื่อ : ผู้ชายทานถั่วเหลืองมาก ๆ เสี่ยงเป็นหมัน
แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาออกมายืนยันอย่างแน่ชัด แต่ก็มีการวิจัยหนึ่งซึ่งทำการศึกษาโดย Weston A. Price Foundation พบว่าการที่ผู้ชายรับประทานถั่วเหลืองมากเกินไปอาจจะทำให้ให้เกิดความผิด ปกติกับต่อมไร้ท่อของเพศชายอันเนื่องมากจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นหมันได้ ดังนั้นหากหนุ่ม ๆ คนไหนกลัวจะเป็นหมันก็ควรรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณที่พอเหมาะนะคะ เพื่อความปลอดภัย
ความเชื่อ : เด็ก ๆ ไม่ควรทานนมถั่วเหลือง
นมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายค่ะ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการแพ้น้ำตาลในนมวัว ควรรับประทานนมถั่วเหลืองแทน เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน นอกจากนี้สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกายังพบอีกว่ายิ่งรับประทาน ถั่วเหลืองในช่วงเด็ก ๆ มากเท่าไหร่ก็ยิ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ค่ะ
ความเชื่อ : ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ไม่ควรรับประทานถั่วเหลือง
Andrew Weil แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แบบองค์รวม เปิดเผยว่า ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์หรือผู้ที่บริโภคไอโอดีนไม่เพียงพอนั้นไม่ควรรับประทาน ถั่วเหลืองหรืออาหารเสริมที่มีสารอาหารจากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น ไทรอยด์ทำงานช้าลง เป็นต้น ดังนั้นหากใครที่กำลังเป็นโรคไทรอยด์ละก็ควรงดรับประทานถั่วเหลืองชั่วคราว จนกว่าจะรักษาหายนะคะ
ถั่ว เหลือง แม้จะมีประโยชน์อย่างมากมายแต่ก็ควรที่จะรับประทานให้เหมาะสมและควรที่จะ ระมัดระวังด้วยนะคะ ถ้าหากไม่แน่ใจละก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาหนักใจกับโรคภัยด้วยเนอะ แต่ถ้าใครที่สุขภาพแข็งแรงอยู่แล้วละก็ รับประทานถั่วเหลืองกันได้อย่างสบายใจเลยจ้า
นมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายค่ะ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการแพ้น้ำตาลในนมวัว ควรรับประทานนมถั่วเหลืองแทน เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน นอกจากนี้สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกายังพบอีกว่ายิ่งรับประทาน ถั่วเหลืองในช่วงเด็ก ๆ มากเท่าไหร่ก็ยิ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ค่ะ
ความเชื่อ : ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ไม่ควรรับประทานถั่วเหลือง
Andrew Weil แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แบบองค์รวม เปิดเผยว่า ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์หรือผู้ที่บริโภคไอโอดีนไม่เพียงพอนั้นไม่ควรรับประทาน ถั่วเหลืองหรืออาหารเสริมที่มีสารอาหารจากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น ไทรอยด์ทำงานช้าลง เป็นต้น ดังนั้นหากใครที่กำลังเป็นโรคไทรอยด์ละก็ควรงดรับประทานถั่วเหลืองชั่วคราว จนกว่าจะรักษาหายนะคะ
ถั่ว เหลือง แม้จะมีประโยชน์อย่างมากมายแต่ก็ควรที่จะรับประทานให้เหมาะสมและควรที่จะ ระมัดระวังด้วยนะคะ ถ้าหากไม่แน่ใจละก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาหนักใจกับโรคภัยด้วยเนอะ แต่ถ้าใครที่สุขภาพแข็งแรงอยู่แล้วละก็ รับประทานถั่วเหลืองกันได้อย่างสบายใจเลยจ้า
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment