เลือดกำเดาไหลในเด็ก สาเหตุเกิดจากอะไร
หรืออาจจะเป็นสัญญาณเตือนบอกโรคของลูกก็ได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดความรู้เรื่องเลือดกำเดาไหล
พร้อมวิธีการดูแลเบื้องต้นจากนิตยสาร Mother & Care มาฝากกันด้วยค่ะ
ส่วนเลือดกำเดาไหลจะเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลย
เลือดกำเดาไหล คือการมีเลือดออกมาจากรูจมูก โพรงจมูก หรือหลังโพรงจมูก มักจะพบในเด็กช่วงอายุ 2-10 ขวบ เป็นอาการที่พบได้ในเด็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่ มาดูวิธีการรับมือกับเรื่องนี้สำหรับลูกน้อยกันค่ะ
เลือดกำเดาไหล คือการมีเลือดออกมาจากรูจมูก โพรงจมูก หรือหลังโพรงจมูก มักจะพบในเด็กช่วงอายุ 2-10 ขวบ เป็นอาการที่พบได้ในเด็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่ มาดูวิธีการรับมือกับเรื่องนี้สำหรับลูกน้อยกันค่ะ
สาเหตุ เลือดกำเดาไหลนั้นมีได้หลายสาเหตุได้แก่
เส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก เนื่องจากอากาศแห้ง ร้อนจัดหรือหนาวจัด
เกิดการกระทบกระเทือน เช่น ถูกเพื่อนวิ่งชน มีผนังกั้นจมูกผิดปกติ ผนังกั้นจมูกเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนหรือโรคคนแพ้ อากาศ
ร่างกายขาดวิตามินซี
ความผิดปกติของระบบร่างกาย เช่น ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และโรคเลือดต่าง ๆ
วิธีรับมือ โดยทั่วไป เมื่อเด็กมีเลือดกำเดาไหล จะหยุดเองภายในไม่เกิน 5 นาที และสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย
ให้เด็กนั่งตัวตรงหายใจทางปาก และใช้กระดาษชำระม้วนเป็นแท่งเล็ก ๆ อุดในรูจมูก
หรือใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่น อาจวางผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งบนดั้งจมูกด้วยก็ได้
หากเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจ และดูแลให้เหมาะสม
ไม่ควรให้ลูกเอนหลังแหงนหน้า เพราะอาจทำให้ลูกขย้อน สำลัก อาเจียน
นอกจากนี้ หากเลือดไหลไม่หยุด อาจต้องทำการห้ามเลือดโดยการจี้ด้วยสารเคมีหรือไฟฟ้า เพื่อหยุดเลือดกำเดาไหลทางด้านหน้า หรือใส่วัสดุห้ามเลือดในจมูก หรือผูกหลอดเลือดแดงเพื่อให้เลือดหยุด แล้วหาสาเหตุ เพื่อรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ
อย่านิ่งนอนใจ
เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ เลือดออกเป็นจำนวนมาก
มีรอยช้ำจ้ำเขียว มีเลือดออกมากจากบาดแผลเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ
มีอาการเวียนศีรษะหรือหน้าซีดร่วม
สิ่งที่บอกถือเป็นข้อสังเกตง่าย ๆ ที่คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจเช็กให้ละเอียดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะอาจเป็นเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากเรื่องเลือดกำเดาไหลได้ค่ะ
การป้องกัน
ไม่ควรให้เด็กไปวิ่งเล่นกลางแจ้งนาน ๆ โดยเฉพาะเวลาอากาศร้อนจัด
ห้ามแคะจมูก ไม่ควรให้จมูกได้รับการกระทบกระเทือน
ให้ลูกได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
สร้างภูมิต้านทาน เสริมวิตามินซีจากผักหรือผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง
การตัดเล็บลูกให้สั้น และสอนไม่ให้ลูกแคะหรือแกะเกาจมูก ก็เป็นการป้องกันทางหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother & Care
Vol.12 No.133 มกราคม 2559
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/551479916846052320/
No comments:
Post a Comment