ภัยใกล้ตัวลูกที่ แฝงมากับอาหารบางอย่างคุณพ่อคุณแม่อาจจะคาดไม่ถึง
หากสะสมมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพลูก วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้จากนิตยสาร
Mother & Care เรื่องภัยแฝงในอาหาร
พร้อมเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพสำหรับลูกน้อย มาฝากกัน อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถนำเคล็ดลับที่เรานำมาฝากไปปรับใช้ในชีวิตประจำ
วันได้อีกด้วยค่ะ ^^
นอกจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สารเคมีบางตัวก็อาจปนเปื้อนมากับสภาพแวดล้อมหรืออาหารที่เรากินอยู่ เมื่อร่างกายได้รับสารเคมี และมีการสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพ มาทำความรู้จัก รู้ถึงภัยแฝง และวิธีป้องกันปัญหาสุขภาพลูกรักกันค่ะ
1. โซเดียม
คือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เรียกง่าย ๆ ว่า เกลือแกงนี่แหละค่ะ เราพบในรูปแบบของวัตถุดิบในการปรุงรส ที่จริงเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ในครัว เช่น ซอสปรุงรสอย่างซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำปลา ผงชูรส ซอสหอยนางรม ผงปรุงรส รวมไปถึงขนมขบเคี้ยว กรุบกรอบ อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ น้ำสีและเครื่องดื่ม ล้วนมีโซเดียมเป็นส่วนผสมประกอบอยู่
ภัยแฝง : ร่างกายมีความจำเป็นต้องได้รับเกลือแร่ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายให้สมดุล รักษาระดับความดันโลหิตในร่างกายให้ปกติ และช่วยในเรื่องระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับเกินความจำเป็น ปัญหาที่จะติดตามมาก็คือ ความดันโลหิต โรคไต เป็นต้น
Healthy for You
การ กินแต่พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป คำนึงถึงวัย และสภาพร่างกาย พร้อมกับหมั่นออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วยได้ง่าย ๆ
2. บอแรกซ์
เรียกแบบบ้าน ๆ ก็คือ น้ำประสานทอง หรือผงกันบูด เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้วเพื่อให้ทนความร้อน เป็นสารที่ใช้ประสานในการเชื่อมทอง หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น แต่กลับมีการนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความยืดหยุ่น กรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียได้ง่าย และอาหารที่พบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ (หมูสด หมูบด เนื้อสด) ลูกชิ้น ทอดมัน ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
ภัยแฝง : ผลกระทบที่เกิดจากการได้รับสารปนเปื้อนคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อุจจาระร่วง ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง
Healthy for You
ก่อน เลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้เลือกจากร้านที่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง เลี่ยงอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้งหรืออยู่ได้นาน ๆ
3. สไตรีน
ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ที่บรรจุบะหมี่) หรือการใช้กล่องโฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร โดยเฉพาะอาหารทอดด้วยน้ำมัน เช่น ไข่ดาว ผัดซีอิ๊ว เป็นต้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีนั้น เมื่อกล่องโฟมหลอมละลาย หรือถ้วยสัมผัสกับความร้อน อาจเกิดการละลายแปลงเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหาร
ภัยแฝง : สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่ มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
Healthy for You
ใช้ถุงร้อนหรือรอให้อาหารเย็นก่อนบรรจุในกล่องโฟม หรือมีกล่องใส่อาหาร ปิ่นโตสักใบเพื่อรองรับอาหารของคุณ ก็น่าจะช่วยลดปริมาณขยะ และมีสุขภาพที่ปลอดโรคเพิ่มขึ้นค่ะ
4. ตะกั่ว
กลุ่ม คนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว โรงงานผลิตแบตเตอรี่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตสารพิษกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มของเด็กนั้นการได้รับสารตะกั่วมาจากการหยิบสิ่งของเข้าปาก การกินอาหาร เช่น น้ำดื่ม และการหายใจเอาสารตะกั่วเข้าไป
ภัยแฝง : โอกาสที่จะได้รับมาจากการสูดดมท่อไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง นอกจากนี้เป็นอาหารและน้ำที่มีการเจือปนตะกั่ว และผลที่เกิดขึ้นคือ ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจส่งผลในเรื่องระบบประสาท หรือทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นลง ทำให้เป็นโรคเลือดจาง เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ไต ตับ และหัวใจ
Healthy for You
ตะกั่ว แม้จะไม่ได้อยู่ในส่วนของวิถีชีวิตมากเหมือนสารเคมีตัวอื่น ๆ แต่ก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปากผ่านการกินอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนตะกั่ว โดยเฉพาะทางการหายใจฝุ่นละออง ไอเสียรถยนต์ ดังนั้น การมีผ้าปิดจมูก หรือเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษน่าจะเป็นทางออกของปัญหานี้
5. สารหนู
เป็นโลหะหนักที่มาจากการใช้ปุ๋ย การใช้ยาฆ่าแมลงในการเกษตร (พืช ผัก ผลไม้) น้ำดื่ม เครื่องสำอาง และยาแผนโบราณบางชนิดที่มีสารปรอทเป็นส่วนผสม อุตสาหกรรมฟอกหนัง และโรงงานถลุงเหล็ก เป็นต้น
ภัยแฝง : เมื่อร่างกายได้รับสารหนูทางการหายใจหรือการกินอาหารที่ปนเปื้อน สารหนูจะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ เส้นผม และเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในปริมาณแตกต่างกันไป และแสดงอาการได้หลายระบบ เช่น ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ตาแดง ตาอักเสบ ทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ มีอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดหลัง เป็นต้น
Healthy for You
หาก เป็นอาหาร เช่น พืช ผัก ผลไม้ ก็เน้นการทำความสะอาดก่อนปรุง โดยเฉพาะการใช้ยา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอดีกว่า ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะการกินยาที่มีสารหนูหรือปรอทปนเปื้อนในปริมาณที่สูงเกินค่าที่กำหนด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีที่น่าลองที่สุดค่ะ
6. สารปรอท
เป็นสารที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำและดินเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารปรอทเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน นอกจากนี้ยังพบสารปรอทในเครื่องสำอางและอาหาร เช่น น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนสารปรอท
ภัยแฝง : เมื่อสารปรอทเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ล้วนมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น เช่น ผ่านการหายใจ สูดดม หรือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท อาจทำให้เกิดอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ระบบการย่อยได้ หากสัมผัสทางผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองสัมผัสทางผิวหนัง
Healthy for You
ควรเลี่ยงการเข้าใกล้สถานที่ที่มีการเผาไหม้ของขยะหรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล ควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนนำมาปรุงอาหาร และไม่กินอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมหรือผลิตจากธรรมชาติ แทนการใช้เครื่องสำอางที่เป็นสารเคมีก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ค่ะ
ในประเทศญี่ปุ่นเกิดกรณีของ โรคมินามาตะ ขึ้น เกิดจากปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารปรอทเจือปนอยู่ลงในอ่าวมีนา ตะ ทำให้มีสารปรอทสะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้นำปลาและสัตว์ทะเลมากิน ทำให้ประชาชนในบริเวณอ่าวมินามาตะกว่า 2,000 คน มีอาการปวดท้อง ท้องร่วงไม่สามารถควบคุมการทรงตัว การทำงานของกล้ามเนื้อ ประสาทตา และหูเสื่อม ความจำเสื่อม บางรายมีอาการชัก
นอกจากนี้ยังมีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ หากคุณแม่กินอาหารทะเลที่ปนเปื้อนสารปรอทเข้าไปแล้ว สารปรอทจะผ่านไปทางรกเข้าสู่สมองเด็ก ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองตั้งแต่เกิด หรือมีปัญหาด้านสติปัญญา
นอกจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สารเคมีบางตัวก็อาจปนเปื้อนมากับสภาพแวดล้อมหรืออาหารที่เรากินอยู่ เมื่อร่างกายได้รับสารเคมี และมีการสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพ มาทำความรู้จัก รู้ถึงภัยแฝง และวิธีป้องกันปัญหาสุขภาพลูกรักกันค่ะ
1. โซเดียม
คือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เรียกง่าย ๆ ว่า เกลือแกงนี่แหละค่ะ เราพบในรูปแบบของวัตถุดิบในการปรุงรส ที่จริงเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ในครัว เช่น ซอสปรุงรสอย่างซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำปลา ผงชูรส ซอสหอยนางรม ผงปรุงรส รวมไปถึงขนมขบเคี้ยว กรุบกรอบ อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ น้ำสีและเครื่องดื่ม ล้วนมีโซเดียมเป็นส่วนผสมประกอบอยู่
ภัยแฝง : ร่างกายมีความจำเป็นต้องได้รับเกลือแร่ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายให้สมดุล รักษาระดับความดันโลหิตในร่างกายให้ปกติ และช่วยในเรื่องระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับเกินความจำเป็น ปัญหาที่จะติดตามมาก็คือ ความดันโลหิต โรคไต เป็นต้น
Healthy for You
การ กินแต่พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป คำนึงถึงวัย และสภาพร่างกาย พร้อมกับหมั่นออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วยได้ง่าย ๆ
2. บอแรกซ์
เรียกแบบบ้าน ๆ ก็คือ น้ำประสานทอง หรือผงกันบูด เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้วเพื่อให้ทนความร้อน เป็นสารที่ใช้ประสานในการเชื่อมทอง หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น แต่กลับมีการนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความยืดหยุ่น กรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียได้ง่าย และอาหารที่พบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ (หมูสด หมูบด เนื้อสด) ลูกชิ้น ทอดมัน ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
ภัยแฝง : ผลกระทบที่เกิดจากการได้รับสารปนเปื้อนคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อุจจาระร่วง ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง
Healthy for You
ก่อน เลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้เลือกจากร้านที่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง เลี่ยงอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้งหรืออยู่ได้นาน ๆ
3. สไตรีน
ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ที่บรรจุบะหมี่) หรือการใช้กล่องโฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร โดยเฉพาะอาหารทอดด้วยน้ำมัน เช่น ไข่ดาว ผัดซีอิ๊ว เป็นต้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีนั้น เมื่อกล่องโฟมหลอมละลาย หรือถ้วยสัมผัสกับความร้อน อาจเกิดการละลายแปลงเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหาร
ภัยแฝง : สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่ มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
Healthy for You
ใช้ถุงร้อนหรือรอให้อาหารเย็นก่อนบรรจุในกล่องโฟม หรือมีกล่องใส่อาหาร ปิ่นโตสักใบเพื่อรองรับอาหารของคุณ ก็น่าจะช่วยลดปริมาณขยะ และมีสุขภาพที่ปลอดโรคเพิ่มขึ้นค่ะ
4. ตะกั่ว
กลุ่ม คนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว โรงงานผลิตแบตเตอรี่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตสารพิษกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มของเด็กนั้นการได้รับสารตะกั่วมาจากการหยิบสิ่งของเข้าปาก การกินอาหาร เช่น น้ำดื่ม และการหายใจเอาสารตะกั่วเข้าไป
ภัยแฝง : โอกาสที่จะได้รับมาจากการสูดดมท่อไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง นอกจากนี้เป็นอาหารและน้ำที่มีการเจือปนตะกั่ว และผลที่เกิดขึ้นคือ ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจส่งผลในเรื่องระบบประสาท หรือทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นลง ทำให้เป็นโรคเลือดจาง เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ไต ตับ และหัวใจ
Healthy for You
ตะกั่ว แม้จะไม่ได้อยู่ในส่วนของวิถีชีวิตมากเหมือนสารเคมีตัวอื่น ๆ แต่ก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปากผ่านการกินอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนตะกั่ว โดยเฉพาะทางการหายใจฝุ่นละออง ไอเสียรถยนต์ ดังนั้น การมีผ้าปิดจมูก หรือเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษน่าจะเป็นทางออกของปัญหานี้
5. สารหนู
เป็นโลหะหนักที่มาจากการใช้ปุ๋ย การใช้ยาฆ่าแมลงในการเกษตร (พืช ผัก ผลไม้) น้ำดื่ม เครื่องสำอาง และยาแผนโบราณบางชนิดที่มีสารปรอทเป็นส่วนผสม อุตสาหกรรมฟอกหนัง และโรงงานถลุงเหล็ก เป็นต้น
ภัยแฝง : เมื่อร่างกายได้รับสารหนูทางการหายใจหรือการกินอาหารที่ปนเปื้อน สารหนูจะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ เส้นผม และเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในปริมาณแตกต่างกันไป และแสดงอาการได้หลายระบบ เช่น ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ตาแดง ตาอักเสบ ทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ มีอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดหลัง เป็นต้น
Healthy for You
หาก เป็นอาหาร เช่น พืช ผัก ผลไม้ ก็เน้นการทำความสะอาดก่อนปรุง โดยเฉพาะการใช้ยา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอดีกว่า ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะการกินยาที่มีสารหนูหรือปรอทปนเปื้อนในปริมาณที่สูงเกินค่าที่กำหนด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีที่น่าลองที่สุดค่ะ
6. สารปรอท
เป็นสารที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำและดินเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารปรอทเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน นอกจากนี้ยังพบสารปรอทในเครื่องสำอางและอาหาร เช่น น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนสารปรอท
ภัยแฝง : เมื่อสารปรอทเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ล้วนมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น เช่น ผ่านการหายใจ สูดดม หรือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท อาจทำให้เกิดอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ระบบการย่อยได้ หากสัมผัสทางผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองสัมผัสทางผิวหนัง
Healthy for You
ควรเลี่ยงการเข้าใกล้สถานที่ที่มีการเผาไหม้ของขยะหรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล ควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนนำมาปรุงอาหาร และไม่กินอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมหรือผลิตจากธรรมชาติ แทนการใช้เครื่องสำอางที่เป็นสารเคมีก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ค่ะ
ในประเทศญี่ปุ่นเกิดกรณีของ โรคมินามาตะ ขึ้น เกิดจากปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารปรอทเจือปนอยู่ลงในอ่าวมีนา ตะ ทำให้มีสารปรอทสะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้นำปลาและสัตว์ทะเลมากิน ทำให้ประชาชนในบริเวณอ่าวมินามาตะกว่า 2,000 คน มีอาการปวดท้อง ท้องร่วงไม่สามารถควบคุมการทรงตัว การทำงานของกล้ามเนื้อ ประสาทตา และหูเสื่อม ความจำเสื่อม บางรายมีอาการชัก
นอกจากนี้ยังมีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ หากคุณแม่กินอาหารทะเลที่ปนเปื้อนสารปรอทเข้าไปแล้ว สารปรอทจะผ่านไปทางรกเข้าสู่สมองเด็ก ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองตั้งแต่เกิด หรือมีปัญหาด้านสติปัญญา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother
& Care
Vol.12
No.133 มกราคม 2559
http://baby.kapook.com
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/529173024943842485/
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/529173024943842485/
No comments:
Post a Comment