เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย
1 ขวบขึ้นไปพัฒนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ
วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปดูพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกน้อยวัย 1 ขวบ
ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง หากอยากให้ลูกรักมีพัฒนาการที่ดีสมวัยคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลูกน้อย
และส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ให้ลูกได้อย่างเหมาะสม พร้อมแล้วไปเรียนรู้พร้อม ๆ
กันกับนิตยสาร M&C แม่และเด็ก กันเลย ...
365 วันหลังจากออกมาทักทาย เติมเต็มความสุขให้ครอบครัว เบบี๋จะผลัดวัยสู่การเป็นบอยหรือเกิรล เป็นเด็กตัวน้อย ๆ ที่ทวีความซนแก่นมากขึ้น หลังจากเริ่มเดินคล่อง ออกวิ่ง และขยันส่งเสียง เรียนรู้การใช้คำ เข้าใจความหมาย
สำหรับพ่อแม่ การเฝ้าดูลูกย่างสู่วัย 1 ขวบอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ และมีพัฒนาการที่ดี นับเป็นเรื่องน่าปลาบปลื้มยินดี ขณะที่หลายคนอาจกังวลว่าลูกมีพัฒนาการบางอย่างค่อนข้างช้า ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ที่วัยไล่กัน จะมีปัญหาตามมาหรือไม่ เพื่อเตรียมพร้อมลูกน้อยสู่วัย 1 ขวบ พัฒนาการต่าง ๆ ที่เค้าควรทำได้ มีดังนี้
เกาะยืน พัฒนาการสู่การเดิน
การแต่ละคนมีพัฒนาการเรื่องการเดินช้าเร็วต่างกัน เร็วหน่อยอาจจะเริ่มเกาะยืน และเดินได้ตั้งแต่ 7-8 เดือน ซึ่งถือว่าสุดยอดแล้ว เร็วจริง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มเกาะยืน เมื่ออายุ 9-11 เดือน และเริ่มออกเดินเมื่ออายุ 12 เดือน-ขวบนิด ๆ ถ้าอายุ 11 เดือน เขายังคลานเป็นหลัก ไม่ยอมเกาะยืน จับตั้งไข่แล้วร้อง ทำหน้าเบ้ หรือให้เกาะเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์สำหรับหัดเดิน แล้วสะบัดหนี ทิ้งตัวนั่งปักหลัก กรณีนี้ถือว่าผิดปกติ ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าทำไม ร้องเพราะกลัว ไม่กล้ายืน หรือมีพัฒนาการทางร่างกายที่ต้องรับการแก้ไขหรือไม่ เช่น เท้าแม่ เท้าปุก ขาโก่ง สันหลังคด หรือมีปัญหาเรื่องพัฒนาการ การพาลูกมาพบกุมารแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยมีความสำคัญอย่าง ยิ่ง อย่ารอจนโต ยิ่งรู้เร็วแก้เร็วตั้งแต่เล็กยิ่งดี
การส่งเสริมการหัดยืนให้ลูก นอกจากอุปกรณ์เกาะยืนและหัดเดินซึ่งปัจจุบันออกแบบมาได้อย่างชาญฉลาด มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ดี การเลือกซื้อก็ดูตามทุนทรัพย์ ตามความเหมาะสม เลือกให้สมวัย สมประโยชน์ ส่วนรถหัดเดินยังเป็นข้อถกเถียงว่าเหมาะกับเด็กหรือไม่ นักวิชาการหลายสำนักบอกว่า เสี่ยงต่อการทำให้เด็กบาดเจ็บ แต่จากเท่าที่เห็น ไม่ว่าบ้านมีฐานะหรือบ้านทั่วไป ก็ซื้อรถติดเดินติดบ้านให้ลูกนั่ง ยังไม่เคยเจอว่าเกิดอันตรายกับลูกบ้านไหน อันนี้คงต้องอยู่ที่การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย เด็กวัยนี้ยังไงก็ไม่ควรปล่อยคลาดสายตา ต่อให้อุปกรณ์และเลิศแค่ไหน สำหรับเด็กกาอจจะเกิดอันตรายได้ถ้าไม่ระวัง
แต่อุปกรณ์ที่ดีที่สุดก็คือพ่อแม่ เป็นพลังสำคัญในการช่วยลูกหัดเดิน แค่ประคอง จูงมือ เรียกเขา ให้กำลังใจ ทำการฝึกเป็นเสมือนการเล่น ให้เขาสนุกกับการออกเดิน ท่าเช่นนี้สม่ำเสมอทุกวันเมื่อลูกย่างสู่วัย 9-11 เดือน ไม่ช้าเขาจะทิ้งมือและจากการเกาะ หลังเรียนรู้การทรงตัวและความสมดุล ค่อย ๆ ย่างเท้าทีละก้าว สองก้าว แล้วทิ้งตัวนั่งก่อนเพิ่มระยะก้าวมากขึ้นจนออกเดินได้อย่างมั่นคง พร้อมที่จะเรียนรู้การวิ่งในขั้นตอนต่อไป
สุดแต่มือจะไขว่คว้า
ส่วนใหญ่พัฒนาการเรื่องการคว้าหยิบจิบ จะไม่ใช่ปัญหาสำหรับการก้าวย่างสู่วัย 1 ขวบ เบบี๋ส่วนมาทำให้ได้ดีตามเกณฑ์ เอื้อมคว้าหยิบจับสิ่งของไม่ว่าจะเป็นของเล่น ของกระตุ้นพัฒนาการ ผลไม้หั่นเป็นชิ้น หรือข้าวของใกล้ตัว ก็มักจะคว้าหมั่บจับแน่น พัฒนาการด้านนี้ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการภาพจริง ๆ สำหรับพ่อแม่ทุกคนมักปล่อยผ่าน มาหนักใจเอาคอนวัยขวบนี่ล่ะ จะเริ่มสู่พัฒนาการอันน่าปวดหัว ทั้งเขวี้ยงปาโยนข้าวของไปทั่ว ดังนั้นของใด ๆ ที่อันตราย แหลมคม แตกง่าย ต้องเอาออกห่างให้ไกลมือลูกมากที่สุด พวกปลั๊กไฟก็ต้องดูแลให้ดี หาที่อุดมาปิด หรือยกสูงขึ้น รวมทั้งระวังเรื่องการอม เข้าปาก ทั้งอันตรายจากการกลืน และเชื้อโรคแบคทีเรียต่าง ๆ เรียกว่าซึ่งเดินคล่องคว้าสนุก อาณาเขตความสนุกของเขาจะยิ่งขยายออกไปแบบไม่มีสิ้นสุด การจำกัดอาณาบริเวณ ตั้งที่กั้น ดูแลระวังสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย จึงเป็นสิ่งสำคัญ
การกระตุ้นการใช้มือ การหยิบจับให้ลูก อุปกรณ์ของเล่นมีส่วนช่วยอย่างมาก แนะนำพวกบล็อก หยอดรูปทรง ตัวต่อไม้ ของเล่นที่กดแล้วมีเสียงดนตรี เสียงต่าง ๆ หรืเคาะ ตี หรือลูกบอลพลาสติกให้เขาคว้าโยนเล่น แต่ต้องไม่ลืมทำความสะอาดของเหล่านี้ให้ลูกบ่อย ๆ
เรียนรู้คำและความหมาย
เด็กแต่ละคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน ถ้าเค้าไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยส่งเสียงอาจเป็นเรื่องของบุคลิก แต่ถ้าเรียกแล้วมีท่าทีนิ่งเฉย ไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ตอบ เป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง ควรพามาพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจว่ามีปัญหาใด ๆ หรือไม่ เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาด้านพัฒนาการ ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าไม่มีปัญหาก็สบายใจได้ อาจต้องรอเวลานานกว่าเด็กคนอื่น ๆ หน่อย แต่ทั้งนี้ การี่พ่อแม่ขยันพูดขยันคุยกับลูกในทุก ๆ โอกาส ทุก ๆ เวลาเท่าที่ทำได้ มีส่วนช่วยอย่างมากในการกระตุ้นพัฒนาการต้านการพูดให้ลูกนำสู่ทักษะการเรียน รู้ทำและความหมาย เข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่และคนรอบข้างพูดและสามารถตอบสนองได้ เช่น พ่อแม่บอกว่า หม่ำ ๆ เค้าก็อ้าปากรอป้อนข้าว ในเด็กก่อนวัย 1 ขวบ คำที่ควรพูดกับลูก ควรเป็นคำสั้น ๆ พยางค์เดียวหรือสองพยางค์ และต้องพูดกับเขาอย่างเย็นใจ ช้า ๆ ชัด ๆ ให้เค้าเรียนรู้จดจำอาจจะอ่านนิทาน เล่นหุ่นมือ หุ่นนิ้วประกอบด้วยก็ได้
น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
ปกติเวลาไปพบแพทย์ตามนัด (ซึ่งส่วนใหญ่จะไปพบแทบทุกเดือนปั่นค่ะ จากการป่วยไข้แม้เล็กน้อย) จะมีการตรวจวัดน้ำหนักและส่วนสูงของลูกอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กลิสต์เกณฑ์น้ำหนักและส่วนสูงของลูกได้มายาก จากสมุดตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลที่จะมีเส้นกราฟระบุอยู่บริเวณส่วนหน้าหรือ ส่วนเท้าของเล่ม
อย่างไรก็ดี เด็กอ้วนและผอม ตัวเล็กและสูง สมส่วนตามเกณฑ์หรือไม่ อันที่จริงคะเนจากสายตาก็คงบอกได้อยู่แล้ว ถ้าเห็นว่าลูกตัวเล็กจัง ก็เพิ่งอย่ากังวลว่าโตขึ้นเขาจะแคระแกร็น วัยนี้ยังบอกอะไรไม่ได้มาก ถ้าพ่อแม่ตัวเล็ก รูปร่างเตี้ยความสูงย่อมเป็นไปตามกรรมพันธุ์ แต่ก็เห็นว่าเด็กหลายคนมีรูปร่างเล็ก สมัยเรียนเข้าแถวอยู่ปลายสุด แต่พอโตมาสูงแซงเพื่อน ๆ จากการเล่นกีฬา บำรุงด้วยอาหารหรือเทคนิคพิเศษ แต่ที่ต้องกังวลคือ การที่ลูกมีรูปร่างอ้วนกว่าเด็กวัยเดียวกัน อาจอ้วนจากการกินนมเก่ง กินอาหารเก่ง ความอ้วนนี้ไม่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ ยกเว้นโครงสร้าง ถ้าเห็นว่าลูกอ้วนมาก อย่าไปคิดว่าแบบนี้กำลังดีน่ารัก ให้หาทางช่วยเขาลดน้ำหนักดีกว่า โดยไม่กระเทียนต่อสุขภาพ พวกของหวาน ๆ สำหรับเด็กวัยเล็กต้องเลี่ยง อย่าเอาขนมมาล่อเขา หรือให้กินของหวาน ๆ ของที่ปรุงด้วยน้ำมัน ต้องเสี่ยงเด็ดขาด
เลิกขวดนมเมื่อไหร่ดี
มีคำแนะนำเป็นให้แม่ยุคใหม่ส่งเสริมลูกกินนมแม่จากเต้า มีข้อดีมากมายอย่างที่เราเห็นด้วยทุกประการ แต่แม่หลายคนกู้เลือกให้ลูกกินนมเต้าสลับขวด หรือเล็กเต้าแล้วกินนมขวดเป็นหลัก ทั้งจากนมชงและนมปั๊ม หรือเน้นนมปั๊มอย่างเดียว ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ตามความจำเป็น ข้อดีของการให้ลูกกินนมขวดคือ ป้อนนมลูกได้เร็วชนิดกินอิ่มกินดุ และทุเลาอาการหัวนมแตก แต่ข้อเสีย คือ เมื่อลูกไม่ดูดเต้า การกระตุ้นน้ำนมก็จะน้อยลง แม้เครื่องปั๊มจะช่วยทำหน้าที่แทน แต่ก็ไม่ดีเท่าให้ลูกกินเต้า แถมเด็กที่กินเต้ามีรายงานว่า โตมามักจะเป็นเต้าใจเย็นกว่าเด็กกินนมขวด (แต่เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียง)
ที่ สำคัญ เด็กกินนมขวดมักจะติดนิสัยกินอิ่มเคลิ้มหลับตาขวด จะมีผลเสียต่อการเรียงตัวของฟัน คราบนมที่อาจก่อกลิ่นปาก หินปูน และเชื้อราที่สิ้นของเด็ก จึงมีคำแนะนำว่าให้ลูกเลิกนิสัยกินขวดนอน ควรให้กินก่อนนอนสักสองชั่วโมงแล้วพาไปแปรงฟันและกินน้ำเปล่าตามเพื่อล้าง คราบนมในช่องปาก
พัฒนาการอื่น ๆ ที่พ่อแม่มักกังวล
ยังมีพัฒนาการของเด็กอีกมากที่พ่อแม่มักกังวล เช่น ฟันลูกขึ้นช้า ผมน้อย เด็กไม่ค่อยยิ้ม ไม่ค่อยเล่น ซึ่งต้องมาดูเป็นราย ๆ ไป ทั้งในเรื่องกรรมพันธุ์ โรคประจำตัว สภาพแวดล้อม ครอบครัว และอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ แต่ทั้งหมดสิ่งสำคัญคือการใช้เวลากับลูก อยู่เล่นกับเขา พูดคุย กอดพัดกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วงเวลาเหล่านี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตลูกน้อยได้ดี และเข้าใจถึงปัญหารวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ให้ลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยก้าวสู่วัย 1 ขวบได้อย่างมีความสุข และมีพัฒนาการที่ดี
แหล่งที่มา M&C แม่และเด็ก, http://baby.kapook.com
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment