Thursday, December 31, 2015

ศิลปะ+ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย




         การให้ลูกได้ออกไปเรียนรู้โลกกว้างอย่างสร้างสรรค์สัมผัสกับธรรมชาติ และทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระในแบบที่เขาชอบและถนัด เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ลูกเรียนรู้และเติบโตอย่างมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกายสมอง จิตใจและอารมณ์ มีศักยภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ เป็นการพัฒนาตัวตนที่ดีของเขาในอนาคตค่ะ

ศิลปะเสริมสร้างพัฒนาการ

          หนึ่งในกิจกรรมที่จะทำให้ลูกมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก็คือศิลปะนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้สัมผัสหรือทำงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ ระบายสี ปั้นดิน ฯลฯ ตั้งแต่เด็ก ตามความถนัด ความชอบ หรือให้เหมาะกับวัยของเขาค่ะ เพราะศิลปะช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มือ ข้อมือ และนิ้วมือต่าง ๆ ในการจับดินสอขีดเขียนวาดภาพ การใช้แปรงหรือพู่กันสะบัด ระบายสี การบีบ จับ ปั้นแป้งโด หรือดินน้ำมัน การพับ ฉีก แปะติดกระดาษ หรือการประดิษฐ์สิ่งของง่าย ๆ

          ทักษะด้านการตัดสินใจ การทำงานศิลปะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา ในช่วงเวลาที่ทำงานศิลปะ เด็กมีโอกาสได้คิด ได้เลือก คิดว่าจะวาดภาพแบบไหนเลือกใช้สีอะไร ได้ตัดสินใจ และได้ทดลองทำ

          ทักษะด้านภาษา นอกจากเด็ก ๆ จะได้ลงมือทำแล้ว ศิลปะยังช่วยให้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ เรื่องสี รูปทรง อุปกรณ์ และกริยาท่าทาง รวมทั้งคำศัพท์ที่ใช้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วย

           ทักษะในการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ ในเรื่องของภาพ รูปทรง สีสัน และการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งช่วยทำให้เด็กมีสมาธิ ใจจดใจจ่อ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จ

 ธรรมชาติและการเรียนรู้นอกบ้าน

          การพาลูกไปเรียนรู้นอกบ้าน ไปสัมผัสธรรมชาติ ภูเขา ทะเล หรือสวนสาธารณะที่มีต้นไม้สีเขียวร่มรื่น มีสนามหญ้ากว้าง ๆ ก็ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้กับลูกค่ะ นอกจากจะได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์แล้ว ลูกยังได้วิ่งเล่นอย่างอิสระ ได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ช่วยให้ลูกมีความแข็งแรงของร่างกาย นอกจากนี้การได้ออกไปเจอกับโลกภายนอก พบปะผู้คน หรือได้เล่นกับเพื่อนคนอื่น ๆ ก็เป็นการเสริมสร้างทักษะทางสังคมให้กับลูกด้วย

          เมื่อศิลปะ รวมกัน ธรรมชาติ และการได้ออกไปเรียนรู้นอกบ้าน ก็ยิ่งเพิ่มพลังสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ให้กับลูกค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกไปสวนสาธารณะ ช่วยลูกวาดภาพทำงานศิลปะในสวน การได้อยู่ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้สนามหญ้าเขียว ๆ ช่วยให้ลูกรู้จักซึมซับและสังเกตธรรมชาติรอบตัว หรือจะพาลูกไปเที่ยวทะเล เดินเล่นริมหาด วาดภาพบนหาดทราย หรือใช้สมาธิกับการก่อปราสาททรายก็ได้นะคะ เมื่อรวมกันแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านให้กับลูก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดสรรช่วงเวลาศิลปะและการเรียนรู้ให้ลูกอย่างส่ำ เสมอค่ะ

 นมแม่โภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย

          นอกจากจะส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกด้วยศิลปะและธรรมชาติแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกรักเติบโตมีพัฒนาการที่ดี และพร้อมเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็คือโภชนาการที่ลูกได้รับนั่นเอง นับจากวันที่ลูกเกิด นมแม่คือโภชนาการแรกที่ลูกได้รับ และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน มีระบบการผลิตน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine) ทำให้มีสารอาหารจากธรรมชาติที่เรียกว่า Bioactive Components เช่น ทอรีน นิวคลิโอไทด์ โพลีเอมีน ฯลฯ ในปริมาณสูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย นมแม่ยังมีโปรตีนขนาดเล็ก และไขมันที่ย่อยง่าย ดูดซึมได้เร็วลดอาการท้องอึดท้องผูกอีกด้วย

          สำหรับลูกวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนเพียงพอ รวมทั้งได้รับนมที่มีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน แคลเซียล โอเมก้า 3, 6, 9 และวิตามิน B2. B6, B12 ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูกทั้งด้านร่างกายและสมอง ให้ลูกพร้อมเรียนรู้และมีพัฒนาการรอบด้าน

          และในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมแม่ ได้ หรือต้องการนมเพื่อเสริมโภชนาการ หรือต้องการเปลี่ยนนมให้ลูก ในปัจจุบันก็มีนมแพะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้วย ระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ที่มีโปรตีนและไขมันขนาดเล็กย่อยง่าย ช่วยห่างกายดูดซึมได้ดี และนำไปใช้ได้อย่างครบถ้วน เป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพทีแข็งแรงสมบูรณ์ขงลูก และถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญให้ลูกพร้อมเรียนรู้สู่โลกกว้าง และเป็นพื้นฐานที่ดีของลูกในอนาคต เพื่อพัฒนาการที่ดีอย่างเป็นธรรมชาติ คุณแม่จึงควรเลือกนมที่มีคุณประโยชน์และคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสมกับการ เจริญเติบโตของลูกค่ะ

          การที่คุณแม่ส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับลูกน้อย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ได้เล่น ได้แสดงออกอย่างอิสระได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติ ได้ทำงานศิลปะหรือเล่นดนตรีที่ลูกชอบ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับลูกแล้วยังมีส่วนสำคัญในการสร้างตัวตนให้ลูกเป็นเด็กที่กล้าริเริ่มทำ สิ่งใหม่ ๆ มีกระบวนการคิดในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญเมื่อเขาเติบโตขึ้นในอนาคตค่ะ


แหล่งที่มา  modernmom, http://baby.kapook.com
เครดิตภาพ  https://openclipart.org/detail/229208/cute-baby

Wednesday, December 30, 2015

A-Z เสริมลูกเรียนดี เริ่มที่สมาธิ


     
 สมาธิ คือ จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ช่วยให้ลูกรับข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาสมองได้ดี แต่ถ้าเมื่อใดที่ขาดสมาธิลูกก็จะกลายเป็นเด็กขี้ลืม ไม่อดทน ซนเกินเหตุ ไม่รู้จักสังเกตไม่รอบคอบ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีมารยาท แถมยังล้มเหลวได้ง่าย ไร้วินัย และไม่มีเพื่อน ถ้าไม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ มาส่งเสริมสมาธิกับ A-Z กันนะคะ

Activites : กิจกรรม

          เด็กทุกคนมักสนใจสิ่งรอบข้างง่ายอยู่แล้วโดยธรรมชาติ การสร้างสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงหาสิ่งเร้าที่เด็กสนใจ เช่น กิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจจดจ่อได้นานพอ เช่น ศิลปะ พับกระดาษ ปั้นแป้ง ฯลฯ

Book : หนังสือ

          นิทานหรือหนังสือเด็ก คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างสมาธิให้ลูกได้เต็มที่ เมื่ออ่านให้ฟังจบ ควรสร้างความสนใจจดจ่อให้สมาธิลูกยาวขึ้น โดยถามถึงเรื่องราวที่อ่านให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ

Clean : ทำความสะอาด

          การให้ลูกทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จะช่วยสร้างสมาธิให้ลูกจดจ่ออยู่กับการทำความสะอาดได้ เช่น กวาด ถูบ้าน ตากผ้า เช็ดโต๊ะ โดยไม่ลืมให้คำชมเพิ่มกำลังใจให้ลูกรู้สึกอยากทำ และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ นานขึ้น

Dough : ปั้นแป้งโดว์

          การให้ลูกปั้นแป้งเล่นอย่างอิสระ นอกจากจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง มีผลทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีในการเขียนหนังสือแล้ว ยังช่วยสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิความสนใจจดจ่อให้ลูกได้ดีด้วย

Example : แบบอย่าง

          พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สมาธิจดจ่ออยู่ กับการทำงาน ทำกิจกรรม ทำสิ่งต่าง ๆ จนลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยทำให้ลูกเห็นอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเลียนแบบซึมซับและรับเอาเป็นแบบอย่างได้ในอนาคต

Forest : ป่าไม้

          ป่าไม้ คือ แหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะมีสิ่งดึงดูดใจให้เด็กอยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจเรียนรู้ได้อย่างมีสมาธิทั้งพืชพันธุ์ ดอกไม้ ผีเสื้อ แมลง และสัตว์ป่าหลากชนิด มีโอกาสเมื่อใดอย่าลืมชวนลูกไปแคมปิ้งในป่านะคะ

Game : เกม

          เด็กมักชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม จนทำให้ติดเกมกลายเป็นสมาธิสั้นได้ง่าย ส่งผลถึงปัญหาการเรียน ดังนั้นอย่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมมาก ถ้าห้ามไม่ได้ควรตั้งกฎกติกากำหนดเวลาเล่นให้ลูกรับรู้ได้ปฏิบัติตามด้วย

Homework : การบ้าน

          การบ้าน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิจดจ่อได้ แต่จะทำการบ้านได้ดี มีคุณภาพ จะต้องให้ลูกทำการบ้านในห้องที่เงียบสงบ โดยปิดทีวี หรือไม่ให้มีสิ่งใดมาดึงความสนใจลูก ถ้าลูกทำการบ้านไม่ได้ไม่เข้าใจ ควรเข้ามาสอนลูก

Imagine : จินตนาการ

          จินตนาการ เป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทำให้เด็กเกิดสมาธิต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ จึงควรส่งเสริมจินตนาการ ด้วยการเล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติกับลูก พูดคุยถามไถ่แบบปลายเปิดให้ลูกตอบอิสระ

Jigsaw : ต่อภาพจิ๊กซอว์

          การต่อจิ๊กซอว์เป็นการฝึกสมาธิที่ทำให้เด็กจดจ่อ อยู่กับภาพแต่ละชิ้น เพื่อหาที่ลงให้ได้ ทั้งยังฝึกสังเกต ฝึกความอดทน เมื่อต่อสำเร็จเด็กจะภูมิใจ จึงควรให้ลูกได้เล่นต่อจิ๊กซอว์โดยเริ่มจากภาพที่ลูกโปรดปรานได้เลย

Kick out : เตะออก

          การเตะบอล เป็นกีฬาที่เด็กชอบเล่นเพราะได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อขา สายตา และสมาธิจดจ่ออยู่กับลูกฟุตบอลที่กลิ้งเข้ามาหา แล้วพยายามใช้เท้าเตะออก ถ้ามีโอกาสชวนลูกเล่นเตะฟุตบอล โดยโยนบอลให้ลูกหัดเตะกันเลย

Library : ห้องสมุด

          ห้องสมุด คือ แหล่งรวมความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ควรชวนลูกไปอ่านหนังสือ เป็นสถนที่ที่เงียบสงบที่สร้างสมาธิให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กรู้จักนิสัยค้นคว้าหาความรู้ รู้จักหนังสือดี ๆ เพื่อให้เด็กติดนิสัยรักการอ่าน

Music : ดนตรี

          หาดนตรีช้า ๆ เพลงช้า ๆ ให้ลูกฟัง เพื่อช่วยให้ลูกเกิดสมาธิ การเปิดเพลงเบา ๆ จะเพิ่มความสามารถในการจดจำและเรียนรู้ได้ดี สมองทำงานได้ดี ช่วยจัดลำดับความคิดในสมอง ลูกจะรู้สึกผ่อนคลาย เปิดรับการเรียนรู้ได้ดี

Number : นับเลข

          ฝึกนับเลข 1-10 เพิ่มสมาธิ หรือสอนให้รู้จักจำนวนสอนเขียนเลขโดยไม่จับดินสอ แต่ใช้นิ้วลากไปตามตัวเลข หรือให้หยิบกระดุมแล้วลูกทายกี่เม็ด ถ้าตอบถูกให้เก็บแล้วหยิบใหม่ ถ้าตอบผิดให้บอกจำนวนที่ถูกต้อง

Opportunity : โอกาส

          เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น สำรวจ ทำสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ทำให้ลูกได้ใช้สมาธิในการสังเกต ทดลอง ทดสอบ ใช้ความคิด ตัดสินใจจัดการกับสิ่งที่ทำ รู้จักเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว หรือชวนลูกไปฟังเสียงต่าง ๆ นอกบ้าน เป็นต้น

Play : เล่น

          หาของเล่นเสริมสมาธิให้ลูกมีความคิดจินตนาการ เช่น บล็อกไม้ หากระดาษ ดินสอ สีเทียนให้ลูกวาดรูประบายสี แล้วถ้าจะให้ของเล่นลูกควรให้ทีละชิ้น ไม่ควรให้หลายชิ้น เพราะจะทำให้ลูกไม่มีสมาธิกับของเล่น

Quiet : เงียบ

          จัดมุมสงบในบ้านให้ลูกได้เล่น ได้อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่มีเสียงดังรบกวนอยู่ใกล้ ๆ จนลูกต้องเสียสมาธิ พร้อมหลีกเลี่ยงสิ่งเร้ารอบตัวไม่ให้ลูกวอกแวกกับสิ่งอื่น เพื่อให้มีสมาธิมากที่สุด

Rules : กฎระเบียบ

          จัดระเบียบเวลาในบ้านให้ลูกรับรู้เป็นระบบ เช่น เวลาตื่นนอน เวลากิน เวลาเล่น เวลาทำการบ้าน เวลาดูทีวีกับพ่อแม่ เวลาเล่นเกมถ้าลูกอยากเล่นจริง ๆ เวลาเข้านอน โดยเขียนกำหนดเวลาเหล่านี้ไว้บนกระดาษให้ลูกเห็น

Sleep : นอนหลับ

          นอนหลับสนิท คือ การนอนที่มีคุณภาพ และเพียงพอ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการ พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อช่วยให้ลูกแจ่มใส อารมณ์ดี มีสมาธิในการเรียนรู้ สมองจดจำดี ความคิดสร้างสรรค์

Television : โทรทัศน์

          ไม่ควรให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์คนเดียวนาน แม้ลูกจ้องอยู่หน้าจอได้นานก็จริงจนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าลูกมีสมาธิดี แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะเหล่านี้เป็นสื่อที่เปลี่ยนเร็วทั้งภาพและเสียง ทำให้ลูกสมาธิสั้น

Underline : ขีดเส้นใต้

          การขีดเส้นใต้ คือ การเน้นข้อความสำคัญให้เด่นชัดขึ้น เด็ก ๆ มักใช้ในหนังสือ หรือในสมุดโน้ตที่ได้จดบันทึกการเรียนการสอน ซึ่งการให้ลูกขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ จะช่วยย้ำเตือนให้สมองจดจำได้อย่างมีสมาธิขึ้น

Vision : การมองเห็น

          การมองเห็น คือ หนึ่งในประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่มีความสำคัญต่อเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่เห็น หรือเวลาพูดคุยก็ให้สบตาลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสบตากับผู้อื่น และเกิดสมาธิสนใจผู้ที่มาพูดคุยกับลูกไปด้วย

Whisper : กระซิบ

          การกระซิบจะช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกได้ดี ลูกจะเกิดความรู้สึกตั้งใจฟังในเสียงที่ได้ยินเบา ๆ ข้าง ๆ หู ลูกรู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นมาเล่นเกมกระซิบบอกต่อ ๆ กันจากหัวแถวมาหางแถวดูสิว่าลูกจะจดจำข้อความได้มากน้อยแค่ไหน

Xylophone : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง

          ควรให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ เช่น กลอง ลูกแซก หรือ Xylophone เพราลูกจะเรียนรู้จากการเล่น การเข้าไปเกี่ยวข้อง สัมผัส ทดลองจนรู้เหตุผล เมื่อทำซ้ำ ๆ ลูกก็จะเกิดสมาธิ เกิดความจำ และเรียนรู้ที่ดีด้วย

Yellow : สีเหลือง

          สีเหลือง เป็นหนึ่งในอีกบรรดาสีหลายสี ที่นำมาดึงดูดความสนใจให้ลูกเกิดสมาธิได้ โดยชวนลูกเล่นเกมแยกแยะวัตถุต่าง ๆ ตามสีเดียวกัน ต่อบล็อกตามสี หรือเล่นเกมทายสีบอกสี เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสีต่าง ๆ ให้มากขึ้น ฯลฯ

Zone : แบ่งเป็นเขต, ส่วน

          การแบ่งเขตเป็นสัดเป็นส่วน เช่น การจัดมุมอ่านหนังสือโดยเฉพาะให้ลูก หรือการจัดมุมเล่นของเล่นให้ลูกได้เล่นแล้วรู้จักเก็บ จะช่วยให้ลูกมีโลกส่วนตัวเป็นของตัวเอง และมีสมาธิที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother&Care, http://baby.kapook.com
เครดิตภาพ  http://mardomsara.com/photo/1117165/0aacf552a75f378ca2afcdec0e0517e9_500/ 

Friday, December 11, 2015

กินอย่างไร ? ลูกน้อยจึงจะฉลาดสมวัย




วิธีเลี้ยงลูก ให้ เป็นเด็กฉลาดคุณพ่อคุณแม่สร้างได้ค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเคล็ดลับการส่งเสริมลูกน้อยให้ฉลาดด้วยอาหารอย่างสมวัย และมีพัฒนาการที่ดีมาฝากกันค่ะ อยากให้ลูกเติบใหญ่ ฉลาดแข็งแรงเหมาะสมกับวัย เรามาดูข้อมูลดี ๆ กับนิตยสาร MODERNMOM กันเลยค่ะ ...

          พ่อ แม่ทุกคนอยากให้ลูกฉลาด ได้ยินว่ากินอะไรแล้วสมองดี ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน พ่อแม่ก็จะสรรหามาให้กิน อาหารบำรุงสมองไม่ได้เป็นอาหารที่ต้องเสียเงินมากมาย แต่เป็นอาหารที่เราทุกคนควรกินเพื่อสุขภาพที่ดี

กินอย่างไร...ลูกจึงจะฉลาด

นมแม่เพิ่มไอคิว

          นม แม่คือยอดอาหารสำหรับลูก ทำให้เด็กเติบใหญ่แข็งแรงปลอดโรคติดเชื้อ ปลอดโรคภูมิแพ้ ห่างโรคเรื้อรัง และมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่เคยได้รับนมแม่ถึง 3.5 จุด แต่แม่ต้องกินอาหารที่มีคุณภาพเพิ่มจากปกติเพื่อสร้างน้ำนม และควรกินยาเม็ดเพื่อป้องกันลูกจากการขาดธาตุไอโอดีนกับธาตุเหล็กตลอด 6 เดือนแรกที่ให้นมลูก

ครบ 5 หมู่

          ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน

ไม่ขาดไอโอดีน

          หาก ขาดไอโอดีนอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ไอคิวลดได้ถึง 13.5 จุด ใช้เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลา หรือซอสปรุงรสเสริมไอโอดีน เมื่อต้องการปรุงรสเค็ม ซึ่งได้เสริมไอโอดีนไว้พอเหมาะกับขนาดที่คนไทยทั่วไปกินกัน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ปรุงรสอาหารตามวัยสำหรับทารก และไม่ปรุงรสเค็มจัดสำหรับอาหารเด็ก

ธาตุเหล็กครบ

          ภาวะ ซีดจากขาดธาตุเหล็กในวัยทารกทำให้ไอคิวในวัยเรียนต่ำลง 5-10 จุด การขาดธาตุเหล็กยังทำให้เติบโตช้า ภูมิต้านทานพร่อง ซีด อ่อนเพลีย เฉื่อยชา สมาธิสั้น และความสามารถในการเรียนต่ำลง ธาตุเหล็กมีมากในเลือดสัตว์ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว เด็กเล็กจะได้รับยาน้ำธาตุเหล็กเสริมสัปดาห์ละครั้ง

อาหารมื้อเช้า...มื้อสำคัญสำหรับสมอง

          เด็ก ที่ไม่กินมื้อเช้า จะไม่มีแรง เรื่องคิดคำนวณ ความจำระยะสั้น ความสามารถในการอ่าน และความสามารถในการแก้ปัญหาจะสู้เด็กที่กินอาหารเช้าอย่างถูกหลักโภชนาการ ไม่ได้ พ่อแม่จึงไม่ควรละเลยเอาลูกไปส่งศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลทั้งที่ ท้องยังว่าง อย่าไปหวังพึ่งอาหารตามหน้าโรงเรียนที่คุณค่าอาหารไม่ครบถ้วนและอาจจะไม่ สะอาดอีกด้วย

เด็กจะฉลาดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ

        
กรรมพันธุ์

        
สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

        
ได้รับอาหารเพียงพอครบถ้วนตามวัย

        
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

        
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

        
ให้ความรักความเอาใจใส่ในการกระตุ้นพัฒนาการ และการเรียนรู้ของลูกตามวัยอย่างรอบด้าน

เลี้ยงลูกให้เติบโตสมวัย หุ่นดี ไม่ผอม ไม่เตี้ย ไม่อ้วน

          ให้ ลูกรับประทานอาหารและออกกำลังกายตามวัยโดยพยายามให้มีน้ำหนักและส่วนสูง เพิ่มตามเกณฑ์ โดยดูจากกราฟการเติบโตของน้ำหนัก ความยาวหรือส่วนสูง และเส้นรอบศีรษะโดยสามารถดูได้จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) ประจำตัวของลูกได้

ป้องกันลูกไม่ให้อ้วน
 ความเชื่อ
 ความจริง
 อ้วนตอนเด็กไม่เป็นไร โตขึ้นตัวยืดเอง
 เด็กอ้วนส่วนใหญ่จะยังคงอ้วนจนเป็นผู้ใหญ่
 เด็กอ้วนน่ารัก สุขภาพดี
 เด็กอ้วนมาก พุงย้อยมีหลายโรคทั้งไขมันสูง เบาหวาน กรนเสียงดัง ความดัน ขาโก่ง ขากาง

เคล็ดลับ : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลโรคอ้วน

         เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

         เด็กเกิน 1 ขวบ ควรให้เลิกนมมื้อกลางคืน อายุขวบครึ่งควรเลิกดูดนมขวด เด็กอนุบาลควรได้รับนมวันละ 2-3 มื้อ เด็กโตควรได้รับนมวันละ 2 มื้อ นมที่ให้เด็กควรเป็นนมจืด

         ให้เด็กบริโภคผักและผลไม้เป็นนิสัยทุกมื้อทุกวัน

         เลือกกินปลาเป็นหลัก กินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย เลี่ยงส่วนหนัง

         หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน และขนมที่อุดมไปด้วยไขมันและน้ำตาล

         ไม่สอนให้เด็กกินจุบจิบ พ่อแม่บางคนกังวลว่าเด็กจะหิว จึงหาขนมและของว่างปรนเปรอเด็ก ทำให้เด็กกินเกินความต้องการจนติดเป็นนิสัย

         ไม่ซื้อขนม นม และอาหารสะสมไว้ในบ้าน เด็กยังไม่สามารถยับยั้งความอยากได้ เมื่อมีของอยู่ในบ้านมากก็จะหยิบกินครั้งละมาก ๆ จนหมดในเวลาอันสั้น และมีน้ำหนักเกินในที่สุด หากจำเป็นต้องซื้อตุนไว้ในบ้านให้เก็บไว้ในตู้พ้นสายตาเด็ก

         สอนเด็กให้มีวินัยในการกิน ให้กินอาหารเป็นเวลา ตักอาหารให้พอดีกิน ไม่กินทิ้งกินขว้าง การจัดอาหารของครอบครัวมีส่วนช่วยในการฝึกวินัย บางครอบครัวจัดอาหารมากเกินถึง 2-3 เท่า กระตุ้นให้เกิดการกินแบบไม่ยั้ง การสอนให้เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และกินพอดีอิ่ม จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

         ลดกิจกรรมที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะการดูโทรทัศน์ ซึ่งมักสัมพันธ์กับการกินขนมจุบจิบ มีข้อแนะนำให้เวลาหน้าจอทั้งหมด ซึ่งรวมดูโทรทัศน์ เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่แนะนำให้ดูโทรทัศน์

         สร้างนิสัยการออกกำลังกาย ทั้งที่เป็นการเล่นกีฬา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กฎกติกาและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้านร่วมกันทั้งครอบครัว เดิน หรือขี่จักรยานแทนการนั่งรถ เดินแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน โดยให้เวลาอย่างน้อย 20 นาทีทุกวัน เพิ่มเวลามากขึ้นในวันหยุด

          เด็กต้องอิ่มท้องด้วยอาหารที่มีคุณภาพ และอิ่มใจด้วยความรักความเอาใจใส่ของพ่อแม่ เมื่อได้อาหารเหมาะสมกับวัย เด็กก็จะเติบใหญ่ ฉลาดแข็งแรง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
MODERNMOM
Vol.20 No.239 กันยายน 2558
http://baby.kapook.com

เครดิตภาพ  


Thursday, December 3, 2015

ส่งเสริมวินัยลูกรัก 6 วิธีที่ควรทำและไม่ควรทำ


      การเลี้ยงลูกให้ ได้ดังใจแบบที่คุณพ่อคุณแม่หวังไว้ อาจจะต้องใช้เวลาแบบค่อยเป็นค่อยไปสักหน่อยค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้ในการเลี้ยงลูกในเชิงบวกมาฝากกันค่ะ เพราะบางครั้งการใช้ไม้แข็งกับลูกก็ให้ผลไปในทางลบมากกว่าค่ะ งั้นเรามาดู 6 ข้อที่ควรส่งเสริมวินัยลูกและ 6 ข้อ ที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับนิตยสาร Mother & Care กันเลยค่ะ
 

6 วิธีที่ควรทำ

         1. สร้างกฎเกณฑ์ บางอย่างขึ้นมาสำหรับลูก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ หรือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น เช่น ให้โอกาสลูกตักข้าวกินเอง แต่ต้องให้ลูกใช้ช้อนตัก ไม่ใช้มือหยิบข้าว

         2. การที่จะทำให้ลูกเต็มใจอยู่ในระเบียบวินัยนั้นทางที่ดีที่สุด คือ ให้การยอมรับในตัวลูก ให้ความร่วมมือกับลูก แสดงความรักกับลูก กอดลูก รวมทั้งใช้คำชมเชยให้กำลังใจลูก จะมีผลทำให้ลูกเชื่อฟังพ่อแม่มากกว่าการบังคับ

         3. เรื่องใดที่ต้องตัดสินใจ หรือเลือกทำลูกจะรู้สึกยุ่งยาก ควรกำหนดลงไปเลย เช่น เมื่อถึงเวลาต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น "ถึงเวลาต้องอาบน้ำแล้วจ้า" หรือ "ถึงเวลาต้องกินข้าวเย็นแล้วนะจ๊ะ" เพื่อให้ลูกรู้ว่าลูกต้องทำอะไรเมื่อถึงเวลานั้นเวลานี้

         4. ควรออกกฎเข้มงวดเฉพาะเรื่องที่เป็นอันตรายต่อชีวิตลูกก็พอ เช่น ออกกฎห้ามไม่ให้ลูกแหย่ปลั๊กไฟ หรือออกไปวิ่งนอกถนน ห้ามเล่นไม้ขีดไฟ หรืออื่น ๆ ถ้าลูกขัดขืน ควรมีบทลงโทษที่ชัดเจน แต่ต้องให้ลูกรู้ด้วยว่าตัวเองนั้นทำผิดเรื่องอะไร

         5. ควรสร้างวินัยด้วยวิธีให้ลูกปรับตัวปรับพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และรู้จักยับยั้งตัวเองโดยไม่เสียความภูมิใจในตัวเองไป เช่น ลูกปืนขึ้นไปเล่นในบางที่ที่พ่อแม่ตกลงไว้แล้วได้ แต่ลูกจะปืนขึ้นไปบนโต๊ะอาหารไม่ได้ หรือลูกรื้อของเล่นมาเล่นได้ตามใจชอบ แต่ลูกต้องรู้จักเก็บให้เข้าที่เวลาเล่นเสร็จด้วย ห้ามทิ้งเกลื่นกลาด เป็นต้น

         6. ถ้าต้องการให้ลูกรู้ว่าสิ่งไหนลูกควรทำสิ่งไหนลูกไม่ควรทำ ควรจะบอกที่การกระทำนั้น เช่น "เทน้ำเลอะเทอะอย่างนี้ไม่ได้นะจ๊ะ พื้นห้องสกปรกไปหมดแล้วเห็นไหมจ๊ะ ถ้าลูกเดินเหยียบเข้าก็จะลื่นล้มเจ็บตัวได้จ๊ะ" ซึ่งการพูดดี ๆ กับลูก อธิบายให้ลูกฟังจะได้ผลในทางบวกมากกว่า



6 วิธีที่ไม่ควรทำ

         1. อย่าฝึกลูกอย่างเข้มงวดกวดขัน หรือตั้งข้อจำกัดให้กับลูกมากไป หรือเร่งเร้าลูกมากเกินไป รวมทั้งอย่าใช้วิธีบังคับตายตัวไม่ยืดหยุ่น หรือใช้การลงโทษที่รุนแรง เพราะมีแต่จะสร้างแรงต้านให้ลูกตอบโต้กลับมา

         2. อย่าตั้งความคาดหวังในตัวลูกว่าลูกจะต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือกฎเกณฑ์ ที่พ่อแม่ต้องการให้เป็น เพราะผลที่ได้จะกลายเป็นความโน้มเอียงที่จะบังคับเข้มงวดกับลูกไม่มากก็น้อย ได้ในที่สุด

         3. อย่าใช้วิธีขู่ว่าจะไม่รักถ้าลูกไม่มีระเบียบวินัย ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ เพราะลูกจะตีความไปแล้วว่าพ่อแม่ไม่รักหรือเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่รักตัวเองจริง ๆ ไม่ได้มองว่าเป็นการพูดขู่หรือแกล้งพูด ซึ่งจะยิ่งทำให้ลูกแสดงอาการต่อต้านมากขึ้น หรืองอแงมากขึ้น

         4. อย่าคิดว่าตำหนิแล้วจะทำให้ลูกรู้สึกผิด และไม่ทำสิ่งนั้นอีก แต่ผลที่ได้จะกลายเป็นไปในทางลบ คือทำลายความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวลูก

         5. อย่าทำให้เหตุการณ์เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือเห็นเป็นความผิดร้ายแรง เช่น ลูกทำแก้วตกแตกเพราะถือไปวิ่งไป ไม่ควรตำหนิลูกทันที แต่ควรเก็บกวาดและปลอบลูกให้หายตกใจก่อน แล้วบอกลูกถึงสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ เช่น "ลูกต้องระวังอย่าถือแก้วน้ำวิ่งแบบนี้ เพราะมันจะตกแตก ลูกจะต้องค่อย ๆ เดินช้า ๆ จะได้ไม่ตกแตกอีก"

         6. อย่าตีลูก แม้ผลของการตีจะหยุดยั้งพฤติกรรมลูกได้ชั่วขณะ แต่ไม่ได้สอนให้ลูกรู้ว่าอะไรถูกผิด กลับเป็นการสอนให้ลูกโกรธ และแสดงความก้าวร้าวตอบโต้ อาจใช้ได้บ้าง ถ้าจำเป็นจริง ๆ แต่ก็ไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และควรให้การตีลูกเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะมีวิธีการที่ดีกว่านี้สามารถหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

 

ข้อควรรู้คู่การเล่นกีฬา

          เยาวชนเป็นผู้ที่กำลังเติบโต ร่างกายจึงยังไม่แข็งแรงเต็มที่ การฝืนออกกำลังมาก เล่นแรงมาก เพราะอยากจะเอาชนะ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บกลายเป็นผลเสียระยะยาวได้ และการซ้อมมาก ๆ การทำท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ กันมากก็อาจทำให้ร่างกายบางส่วนบาดเจ็บได้มาก เช่น นักเบสบอลที่ขว้างลูกมาก ๆ อาจเกิดการบาดเจ็บที่ไหล่ การตีเทนนิสมาก ๆ อาจทำให้ข้อศอกอักเสบ ด้วยเหตุนี้สมาคมโรคเด็กสหรัฐอเมริกาจึงกล่าวว่า การส่งเสริมการเล่นกีฬาของเยาวชนควรมุ่งหวังแต่เพียงให้เด็กติดนิสัยดี ๆ คือ การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพในระยะยาว อย่าเล่นแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อการเป็นแชมป์โลก หรือเพื่อชิงทุนการศึกษาตามใจพ่อแม่ แล้วพ่อแม่ก็ควรให้ลูกเปลี่ยนชนิดกีฬาที่เล่นไปเรื่อย ๆ เพื่อค้นหาดูว่าเล่นกีฬาชนิดไหนได้ดีที่สุดสำหรับลูก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother & Care
Vol.11 No.129 กันยายน 2558
http://baby.kapook.com

เครดิตภาพ   https://www.pinterest.com/pin/9710955418810874/